ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการจัดการโลจิสติกส์ การขนส่งทางเรือ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศิริ พลอยจินดา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นพดล บุรณนัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, การบริหารจัดการ, โลจิสติกส์, การขนส่งทางเรือ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการจัดการโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือ กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณตรวจสอบข้อมูลและหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ค่ามีเท่ากับ .923 โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการ จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 100 แล้วนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อนำมาหาค่าสถิติต่าง ๆ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีเทสต์- และการวิเคราะห์ความแปรปรวน

              ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการจัดการโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยลำดับแรกคือ งานด้านการบริหารจัดการสินค้า รองลงมา งานด้านการขนส่งสินค้า  และงานด้านการบริหารจัดการสินค้า ตามลำดับ ผู้ใช้บริการเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารการจัดการโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือ กรุงเทพมหานคร ของงานด้านการบริหารจัดการสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ใช้บริการเพศชาย มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารการจัดการโลจิสติกส์ การขนส่งทางเรือ กรุงเทพมหานคร งานด้านการบริหารจัดการสินค้า สูงกว่าผู้ใช้บริการเพศหญิง ส่วนผู้ใช้บริการที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารการจัดการโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือ กรุงเทพมหานคร ของงานด้านการบริหารจัดการสินค้า แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยผู้ใช้บริการที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารการจัดการโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือ กรุงเทพมหานคร งานด้านการบริหารจัดการสินค้า ต่ำกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี และ 41 – 50 ปี ตามลำดับ

References

กฤษฎ์ ฉนัทจิรพร. (2550). การจัดการโลจิสติกส์เชิงโซ่อุปทานและการบริหารสินค้าคงคลัง. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560, จาก http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid= 1384&pid=135
กระทรวงคมนาคม. (2560). รายงานประจำปี 2560. กระทรวงคมนาคม กรุงเทพฯ.
พชรรร เศรษฐยานนท์. (2554). การจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลประกอบการของร้านดอกไม้ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิภาดา ทองรอด. (2555). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2543). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององคกรตามรัฐธรรมนูญ และ หนวยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
วราภรณ์ ศรีสุข. (2550). การจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย. ปริญญาบริหาร
ธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน.์ (2552). เทคนิคการบริหาร สำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีพร แก้วโขง. (2554). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษารัตน มิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุญาณี ฉิมอ่ำ. (2550). รูปแบบการบริหารที่มีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สุพัตรา เอื้อเสริมกิจกุล. (2549). การประเมินแนวความคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์
ของอุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูก. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Stock, J. R., and Lambert, D. M. (2001). Strategic Logistics Management. (4th ed). Boston, MA: McGraw-Hill-Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27