คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน ภายในห้างสรรพสินค้า สุพรีม คอมเพล็กซ์

ผู้แต่ง

  • อรณิชา วงค์ศา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, พฤติกรรมการใช้บริการ, ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ, คาเฟ่อเมซอน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนภายในห้างสรรพสินค้าสุพรีมคอมเพล็กซ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชากรที่ใช้บริการในห้างสรรพสินค้าสุพรีมคอมเพล็กซ์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีขึ้นไป และเคยใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างการสุ่มตามความสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุตั้งแต่ 31-40 ปี มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว รายได้/เดือนมากกว่า 30,000 บาท คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน พบว่า ผู้ใช้บริการร้านกาแฟ มีความคิดเห็นต่อตัวแปรด้านคุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการ รองลงมาคือ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ และให้ความสำคัญกับด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการน้อยที่สุด ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรเพิ่มเมนูเครื่องดื่มให้มีความหลากหลาย มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้มาใช้บริการว่าต้องการเครื่องดื่มประเภทใดเพิ่มเติม เพื่อที่จะเพิ่มความพึงพอใจ และเพิ่มจำนวนความถี่ในการมาใช้บริการให้มากขึ้น

References

ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน. (2558). กรุงเทพธุรกิจ. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2560, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/672359
ไทยรัฐออนไลน์. (2559). จากธุรกิจเสริม สู่ธุรกิจดาวรุ่ง 'คาเฟ่ อเมซอน' ดัง ปัง เพราะอะไร?. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560, จาก https://www.thairath.co.th/content/616808
บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน). (2560). เกี่ยวกับคาเฟ่อเมซอน. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.cafe-amazon.com/about.aspx?Lang=TH&PageID=1
บริษัท ภูริชวัน จํากัด. (2550). “ธุรกิจกาแฟ โอกาสเติบโต.” ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2560, จาก http://www.purichawon.com/Parawon/index.asp
ปัณนิกา วนากมล. (2545). คุณภาพบริการของโรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ตามการรับรู้ของผู้รับบริการ. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 11.
สุมนัส บุญมี. (2553). คุณภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Goetsch, D. L. & Davis, S. B. (1977). Quality Management (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education Inc.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. Englewood Cliffs: Prentice Hall.
Marketeer Online. (2017). คนไทยมีพฤติกรรมการดื่มกาแฟสดนอกบ้านมากขึ้น. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2560, จาก https://marketeeronline.co/archives/124948
New Plus. (2559). สมาคมกาแฟพิเศษเผย ธุรกิจกาแฟในไทยยังโตได้อีก. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2560, จาก http://www.newsplus.co.th/94854
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49(4), 41 - 50.
Wisher, J. D. & Corney, W. J. (2001). Comparing Practices for Capturing Bank Customer Feed Back - Internet Versus Traditional Banking. Benchmarking: An International Journal 8(3), 240 - 250.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27