ประสบการณ์ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทยในการทำงานกับ สายการบินต่างชาติที่ต้องพำนักในต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • ณุภัทรณีย์ ชูกวีวัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสบการณ์, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, สายการบินต่างชาติ, พำนักในต่างประเทศ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงประสบการณ์ในการทำงานและการพำนักในต่างประเทศของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทยที่ทำงานกับสายการบินต่างชาติ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงชาวไทย จำนวน 12 คน ที่ทำงานหรือเคยทำงานกับสายการบินต่างชาติ ที่ต้องพำนักในต่างประเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงร่วมกับวิธีการคัดเลือกแบบก้อนหิมะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตโดยผู้วิจัย ทำการบันทึกเสียงขณะสัมภาษณ์และจดบันทึก รวมทั้งการบันทึกไดอารี่ของผู้ให้ข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ

           ผลการวิจัยประสบการณ์ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ประกอบด้วย 6 มิติ คือ 1) ประสบการณ์ด้านลักษณะทางกายภาพของประเทศ ได้แก่ ภูมิประเทศในตะวันออกกลางเป็นทะเลทราย ทำให้มีภูมิอากาศร้อน ทำให้ต้องปรับตัวในการดำเนินชีวิต 2) ประสบการณ์ด้านภาพลักษณ์ของประเทศที่พำนัก ได้แก่ ภาพลักษณ์ของประเทศที่ไปทำงานมีความเป็นสากล และมีความปลอดภัยสูง 3) ผลประโยชน์ที่ได้รับ ประกอบด้วย เงินเดือน ค่าชั่วโมงบิน เบี้ยเลี้ยงประจำวัน รวมทั้งได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และสวัสดิการด้านที่พัก  4) คุณค่าที่มีความหมาย ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพตนเอง และได้เปิดโลกทัศน์ 5) การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่  การทำงานกับเพื่อนร่วมงาน การพบปะกับคนท้องถิ่น และการติดต่อกับคนในครอบครัวในประเทศไทย 6) ประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณี การแต่งกาย การบริโภค

References

ชาย โพธิสิตา. (2549). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.
นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ, นันทกา สวัสดิพานิช, สุภาพร วรรณสันทัด และพิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. (2555). การศึกษาประสบการณ์และกระบวนการไปทำงานต่างประเทศของพยาบาลไทย. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2561, จาก http://iththailand.net/resources/publication/research-report-articles/37-การศึกษาประสบการณ์และกระบวนการไปทางานต่างประเทศของพยาบาลไทย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2561, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/index.php
สุพัสตรา เสนสาย. (2556). ประสบการณ์การทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาของพยาบาลไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Arnould, E. J., Price, L. and Zinkhan, G. M. (2002). Consumers. McGraw-Hill, Boston.
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic Research in Psychology. Qualitative Research in psychology, 3(2), 77-101.
Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. London, England: Sage.
Jansson-Boyd, C. V. (2010). Consumer Psychology. U.S.A.: Open University Press.
Morgan, M., & Xu, F. (2009). Student travel experiences: Memories and dream. Journal of Hospitality Marketing & Management, 18(2), 216-236.
Schmitt, B. (2011). Experience Marketing: Concept, Frameworks and Consumer Insights. Massachusetts: Now Publishers Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27