ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผล, การบริหาร, งานกิจการนักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ 2) ศึกษาปัจจัยในการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ งานนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ จำนวน 91 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน ของ เครซี่ และมอร์แกน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นเฉลี่ยเท่ากับ .938 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวม และรายด้าน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับ มากทั้งหมด ทั้งนี้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริการสวัสดิการนักเรียน ด้านการปกครองและระเบียบวินัย และด้านกิจกรรมนักเรียนตามลำดับ 2) ปัจจัยในการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้งหมด ทั้งนี้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านนโยบายบริหารและการปฏิบัติ ด้านครู ด้านผู้บริหาร และด้านสภาพแวดล้อมตามลำดับ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย 3 ตัวแปร เรียงลำดับน้ำหนักความสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายบริหาร ด้านครู และด้านสภาพแวดล้อมตามลำดับ
References
กฤษดา สุภศร. (2552). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเตรียมการเพื่อรองรับการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ฉัตรชัย แสงจันทร์. (2555). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ฉัตราภรณ์ สถาปิตานนท์. (2550). ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร กลุ่มตากสินและกลุ่มมหาสวัสดิ์. สารนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นันท์นภัส หัตถุปะนิตย์. (2558). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิลมณี บัวระกา. (2553). รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชุด ลมฟ้าอากาศ. โรงเรียนบ้านขอนแดง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย.
พจนา เลี่ยมทอง. (2554). การจัดสภาพแวดล้อมของศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาพื้นที่ท้ายดง-วังหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
มาลินี เกศธนากร. (2556). การบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักธรรมภิบาลเชิงพุทธของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตนาภรณ์ พลวัน. (2555). การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กลุ่ม 2 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุนีย์ ยอดระบำ. (2554). จริยธรรมด้านการปฏิบัติงานของครู ตามหลักอิทธิบาท 4 และบรรยากาศในองค์การที่พยากรณ์พฤติกรรมตามบทบาทของครู ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง กรุงเทพมหานคร. หน้า 12.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). คู่มือการปฏิบัติงาน มาตรฐานกระบวนการบริการข้อมลูข่าวสาร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2561, จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/1/files/ITA62/14คู่มือมาตรฐานการให้บริการข้อมูลข่าวสาร%20ปี%2062.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา แห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2554). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร บริหารทั่วไป. กรุงเทพฯ.
อรัญญา สารีโพธิ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. หน้า 3.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Steers, R. M. (1997). Organization effectiveness: A behavior view. Santa Monica, CA: Good Year.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว