คุณค่าตราสินค้าและปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารเพื่อสุขภาพของ กลุ่ม Gen Y ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรรณวิไล โพธิ์ชัย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณค่าตราสินค้า, การสื่อสารการตลาด, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, Gen Y

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคุณค่าตราสินค้า และปัจจัยการสื่อสารการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพของ Gen Y ในกรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชาชนที่เป็นกลุ่ม Gen Y มีอายุระหว่าง 19 – 39 ปี โดยกำหนดขนาดตัวอย่างจากสูตรของ Yamane จำนวน 449 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression) สำหรับการทดสอบสมมติฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้าโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 อยู่ในระดับมาก และส่วนการสื่อสารการตลาดโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า ปัจจัยด้านคุณค่าตราสินสินค้าของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพสามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพได้ร้อยละ 57 (R2= 0.570) และปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพสามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพได้ร้อยละ 59.9 (R2= 0.599)

References

ณัฐชยา ใจจูน. (2559). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุณิสา สุระเสถียร. (2556). ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร และปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของผู้ซื้อกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชลบุรี
อรสุธี เหล่าปาลี. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 1977-1991.
นธกฤต วันต๊ะเมล์. 2557. การสื่อสารการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ธัญนันท์ วีรภัทรรุ่งโรจน์.(2559). ลักษณะความแตกต่างระหว่าง Generation X , Y, Z ในกรุงเทพมหานครและพฤติกรรมในการซื้อสินค้าออนไลน์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น
วฤตดา วรอาคม. (2557). 5อินไซต์เจเนอเรชั่นซี. กรุงเทพธุรกิจ. วันที่ 7 กรกฎาคม 2557.
ฐานเศรษฐกิจออนไลน์. (2560). ประชากรไทย GenY ใหญ่สุด พฤติกรรมสร้างโอกาส-ความเสี่ยง (1). ฐานเศรษฐกิจออนไลน์. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2561, จาก http://www.thansettakij.com/content/234315
Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name.
New York: The Free.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: Analysis Planning Implementation and control. The Millennium Edition. New Jersey: Prentice Hall International.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing Management. (14th ed.) Boston: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27