แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานและการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • นันทวดี อุ่นละมัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กฤษดา เชียรวัฒนสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน, การคงอยู่ในองค์กร, พนักงานมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ระดับผลการปฏิบัติงาน และระดับความต้องการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อความต้องการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ Multiple Regression Analysis แบบ All enter

           ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านการบรรลุเป้าหมายที่ท้าทาย (β = 0.554) การเป็นที่ยอมรับหรือชื่นชม (β = 0.190) และการไม่หวังค่าตอบแทน (β = 0.133) ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในขณะที่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านการเป็นที่ยอมรับหรือชื่นชม (β = 0.503) และการไม่หวังค่าตอบแทน (β = 0.309) ส่งผลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ทิศทางการอุดมศึกษาไทย. ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2562, จากhttp://www.kriengsak.com/node/41
กฤษดา เชียรวัฒนสุข และคณะ. (2560). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ. วารสารมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), หน้า 29-43.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข, สุรพร อ่อนพุทธา และสุพรรณษา ฟักขำ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำ รูปแบบภาวะผู้ตามกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), หน้า 25-34.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2561). หลักการจัดการและองค์กร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
จิตรลดา ตรีสาคร และสุรพร อ่อนพุทธา. (2558). ผลกระทบของแรงจูงใจและความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยและพนักงานราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. สืบเนื่องจากประชุมสัมมนาวิชาการด้านบริหารธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมในเขตชายฝั่งตะวันออก ครั้งที่ 4 วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 19 ธันวาคม 2558, หน้า 310-327.
โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร และคณะ. (2555). การเสริมสร้างความสุขในการทำงานเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. กระทรวงสาธารณสุข: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
พักตร์พิมล สมบัติใหม่. (2558). แรงจูงใจของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 6(2), หน้า 123 - 139.
พรรณทิพย์ รุ่งเรืองศรี, ชลัยทิพย์ จิรชัยเชาวนนท์ และพสิษฐ์ โสภณพงศ์พัฒน์. (2558). กลยุทธ์การจัดการต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15.
สุดารัตน์ ธีรธรรมธาดา. (2557). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์ ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการทางานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุรพร อ่อนพุทธา และคณะ. (2561). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการรับรู้การสนับสนุนขององค์กรที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากร: กรณีศึกษาบริษัท บริดจสโตน จำกัด. บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 12 สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ณ โรงเรียน เสนาธิการทหารบก กรุงเทพมหานคร วันที่ 28-29 มิถุนายน 2561.
อดุลย์ กองสัมฤทธิ์. (2557). การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาองค์การบริการส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization, Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.
Bhuvanaiah, T. & Raya, R. P. (2015). Mechanism of Improved Performance: Intrinsic Motivation and Employee Engagement. SCMS Journal of Indian Management, 12(4), 92-97.
Helmreich, R. L., Sawin, L. L., & Carsrud. A. L. (1986). The honeymoon effect in job performance: Temporal increase in the predictive power of achievement motivation. Journal of Applied Psychology, 71(2), 185-188.
Hoffman, L. W. (1977). Changes in Family Roles, Socialization, and Sex Differences. American Psychologist, 32(8), 644-657.
Maccoby, E. E., & Jacklin, C. N. (1974). The psychology of sex differences. Stanford C.A.: Stanford University Press.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological review, 50(4), 370-396.
McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A., & Lowell, E. L. (1953). The achievement motive. New York: Appleton-Century-Crofts.
Shahzadi, I., Javed, A., Pirzada, S. S., Nasreen, S. & Khanam, F. (2014). Impact of employee motivation on employee performance. European Journal of Business and Management, 6 (23), 159-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27