บริบทของกระบวนการทางปัญญาในแก้ไขปัญหาของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนวิจัยภาคเหนือ
คำสำคัญ:
กระบวนการทางปัญญา, การวิจัยเพื่อท้องถิ่น, ชุมชนวิจัยท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาบริบทของกระบวนการทางปัญญาในการแก้ไขปัญหาของชุมชนวิจัย กรณีศึกษาชุมชนวิจัยท้องถิ่นภาคเหนือ โดยกำหนดจำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง, บ้านโป่งคำ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข และ เครือข่ายองค์กรสงฆ์ อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ผ่านการปฏิบัติการโดยใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในฐานะวิธีการทางปัญญาเป็นวิธีปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาและสามารถจัดการตนเองได้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างเครื่องมือหลัก เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มนักวิจัยชุมชนทั้งสามชุมชน พร้อมทั้งจัดสนทนากลุ่มย่อยกับนักวิจัยชุมชน สอง วิเคราะห์และสังเคราะห์ความต่อเนื่อง จัดทำแบบประเมินคุณลักษณะของชุมชนวิจัย และ จัดเวทีเชิงปฏิบัติการประเมินผลความต่อเนื่องร่วมกับนักวิจัยและทีมวิจัยทั้งสามชุมชน
ผลจากการวิจัย พบว่า บริบทของกระบวนการทางปัญญาในการแก้ไขปัญหาของชุมชนใช้กระบวนการทางปัญญาคือมรรควิธี (โยนิโสมนสิการ) ในฐานะของวิธีการทางปัญญาในการพิจารณาและวิเคราะห์การเข้าถึงอริยสัจสี่และนำไปสู่ไตรสิกขาสามหรือบ่อเกิดสังคมแห่งปัญญา (ปัญญา-ศีล-สมาธิ) โดยมีวิธีคิดแบบอริยสัจจ์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการพิจารณาบริบทของกระบวนการปัญญาในการแก้ไขปัญหาของชุมชนทั้งสามชุมชน มีการจัดฐานการเรียนรู้การลดปัญหาหนี้สิน รวมถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งผลที่เกิดขึ้นทั้งสามชุมชนเป็นผลมาจากการสร้างความรู้และพัฒนากระบวนการในการจัดการความรู้ ที่มีขั้นตอนสำคัญทั้งการพิจารณา แยกแยะ วิเคราะห์ พิสูจน์ ข้อมูลความรู้ ที่ผ่านจากการปฏิบัติจริงและพิสูจน์ซ้ำในกระบวนการทางปัญญา
References
นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
ปิยะวัติ บุญ-หลง และคณะ. (2543). การวิจัยเพื่อท้องถิ่น. รายงานการประชุมการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ครั้งที่ 1.
ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคริส เบเคอร์. (2540). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ตรัสวิน.
พรพิไล เลิศวิชา. (2532). คีรีวงจากไพร่หนีนายถึงธนาคารแห่งขุนเขา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมู่บ้าน.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมมิก.
พระธรรมปิฎก(ประยุทธ ปยุตโต). (2539). การศึกษากับการวิจัย เพื่ออนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ยุค ศรีอาริยะ. (2544). มายาโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิถีทรรศน์
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2544). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว