ภาวะผู้นำทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ข้าราชการครู, บุคลากรทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ 2) หาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ วิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 1 การดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 350 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .963 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีภาวะผู้นำทางวิชาการอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย 2.1) บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดภารกิจ เป้าหมาย อย่างจริงใจ 2.2) เน้นทักษะการอ่าน เพราะการอ่านเป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ 2.3) จัดหาวัสดุที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอและตรงกับความต้องการ
References
ชฎากาญจน์ เจริญชนม์. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่มีผลต่อประสิทธิภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดลฤดี กลั่นภูมิศรี. (2558). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลลำปาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ตู้ สมบัติ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลีสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
นภาดาว เกตุสุวรรณ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียงกับการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาพอเพียง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิสมัย ชุมภู. (2557). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการและแนวทางการส่งเสริมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ไพเราะ พัตตาสิงห์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วราภรณ์ อริยธนพล. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ศิรชานา กาศโอสถ. (2558). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่มีนักเรียนชาวเขาเผ่าม้งในเขตพื้นที่อำเภอพบพระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2559). จำนวนข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานครจำแนกตามเพศ และตำแหน่ง ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545. สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา. (2558). สรุปผลการประเมินคุณภาพมาตรฐาน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (SMART School) ประจำปี พ.ศ. 2557. สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว