ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวไทยที่ได้รับจากการเดินทาง ไปท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศนอร์ดิกกับบริษัทนำเที่ยว

ผู้แต่ง

  • นฤดม อ๊อกซู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยวสูงอายุ, กลุ่มประเทศนอร์ดิก, บริษัทนำเที่ยว

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวไทยที่ได้รับจากการเดินทางไปท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศนอร์ดิกกับบริษัทนำเที่ยว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวไทยที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศนอร์ดิกมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง จำนวน 26 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ร่วมกับวิธีคัดเลือกแบบก้อนหิมะ (Snowball sampling) จำนวนของผู้ให้ข้อมูลพิจารณาจากความอิ่มตัวของข้อมูลที่ได้รับ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เดี่ยวเชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์กลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ

             ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวสูงอายุ ประกอบด้วย ประสบการณ์ที่เป็นจุดสุดยอดและประสบการณ์สนับสนุน โดยประสบการณ์ที่เป็นจุดสุดยอดได้แก่ 1) ประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล และ 2)ได้เรียนรู้นวัตกรรมของประเทศ ส่วนประสบการณ์สนับสนุนได้แก่ 1)การได้รับบริการจากร้านอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ 2) การได้รับบริการด้านยานพาหนะที่เป็นเอกลักษณ์ และ(3) อัธยาศัยไมตรีของคนในท้องถิ่น

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557 ). แนวโน้มโลก 2050 ตอนที่ 3: สังคมโลก...สังคมผู้สูงอายุ ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561 จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/611956
ฉัฐพร โยเหลา. (2560). สังคมผู้สูงอายุและโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทย. อุตสาหกรรมสาร, จาก http://e-journal.dip.go.th/LinkClick.aspx? fileticket=lzOhZ270bfU%3D& tabid=70
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
หยาง ไป่ หยิง .(2561). การสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ ประสบการณ์การท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ สถานที่ท่องเที่ยวการแสวงหาความแปลกใหม่ และความเชื่อเชิงบรรทัดฐานส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อ ความตั้งใจท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครของชาวจีน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.
Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using thematic Research in Psychology. Qualitative Research in psychology, 3:(2), 77-101.
Cole, S. T. & Scott, D. (2004 ). Examining the mediating role of experience quality in a model of tourist experiences. Journal of Travel & Tourism Marketing, 16(1), 77-88 .
Quan, S. & Wang, N. (2004). Towards a structural moel of the tourist experience. Tourism Management, 25, 297-305.
Sheth, J. N., Newman, B. I. & Gross, L. G. (1991). Why we buy what we buy: A Theory of consumption values. Journal of Business Research, 22, 159-170 .
World happiness report. (2018). World happiness report 2018. Retrieved October 10, 2018 from http://worldhappiness.report/ed/2018/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27