คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระมหาวัชรพงษ์ สอนมณี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศันสนีย์ จะสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้บริหาร, ผู้บริหารสถานศึกษา, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 2) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed  Method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประสบการณ์ด้านการบริหารสถานศึกษา และไทยแลนด์ 4.0 จำนวน 9 คน  ผู้บริหารและครูโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) โดยวิเคราะห์ด้วยวิธีสกัดปัจจัยแบบ (Maximum Likelihood.) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ        1. ความสามารถในการตัดสินใจ 2. ความสามารถในการจูงใจ 3. ความรับผิดชอบ 4. สติปัญญาและความสามารถ 5. บุคลิกภาพ และ 2) องค์ประกอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีตัวแปรย่อย ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ความสามารถในการตัดสินใจ ประกอบด้วย 6 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .417 ถึง .756 องค์ประกอบที่ 2 ความสามารถในการจูงใจ ประกอบด้วยตัวแปร 12 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักอยู่ระหว่าง .340 ถึง .659 องค์ประกอบที่ 3 ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย 9 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักอยู่ระหว่าง .367 ถึง .668 องค์ประกอบที่ 4 สติปัญญาและความสามารถ ประกอบด้วย 16 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักอยู่ระหว่าง .369 ถึง .783 และองค์ประกอบที่ 5 บุคลิกภาพ ประกอบด้วย 9 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักอยู่ระหว่าง .458 ถึง.630

References

กวี วงศ์พุฒ. (2542). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บี.เค.อินเตอร์ปริ้นจำกัด.
จารุณี ดวงแก้ว. (2553). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ของ คณะกรรมการ ข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3.
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ณัฐธยาน์ โพธิ์ชาธาร. (2553). การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทาง
สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนการทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21.
กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
วันชัย ปานจันทร์. (2556). ภาวะผู้นำในองค์กร LEADERSHIPS IN ORGANIZATION. พิมพ์ครั้งที่ 1.
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สัมมา รธนิธย์. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ้าง.
Dubrin, A. J. (1998). Leadership research findings, practice, and skills. Boston: Houghton Mifflin, 460.
Hodgetts, R. M. (1999). Modern human relation at work (7th ed.). New York: Dryden Press, Harcourt Brace College. 256-258.
Likert, R. (1967). The Human Organization. New Yok: McGraw-Hill, 74.
Magnuson, W. G. (2001). The characteristics of successful school business managers. Doctoral dissertation, University of Southern California, 190.
Peter, P. C. (2007). Emotional reasoning and decision making: Understanding and regulating emotions that serve people’s goals. Ph.D. Dissertation Virginia Polytechnic Institute and State University. Blacksburg, Virginia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27