ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลดู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • บุษบา บุษบงก์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนายุทธศาสตร์, คุณภาพการให้บริการ, องค์การบริหารส่วนตำบลดู่

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของผู้ให้บริการในด้านการขออนุญาตก่อสร้าง การจัดเก็บภาษี งานทะเบียนราษฎร และการลดขั้นตอนงานเอกสาร 2) พัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการให้บริการของผู้ให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลดู่ และ 3) ผลการนำแผนยุทธศาสตร์มาทดลองใช้และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรคือ (1) ประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 390 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา และ (2) พนักงานเทศบาลผู้ให้บริการ จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ และแบบสัมภาษณ์ผู้ให้บริการ สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินผลโดยการเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนและหลังการใช้แผนยุทธศาสตร์

          ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยของปัญหาความพึงพอใจน้อยที่สุด 3 ประการเป็นปัญหาเรื่อง ความรวดเร็วในการให้บริการ ขั้นตอนในการให้บริการ และการต้อนรับทักทายของเจ้าหน้าที่ 2) การนำแผนยุทธศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ทำให้คุณภาพการให้บริการดีขึ้น เห็นได้จากระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการสูงขึ้น 3) ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของผู้รับบริการ อยู่ในระดับปานกลาง สภาพปัญหาที่พบ เป็นเรื่องความรวดเร็วในการให้บริการ ขั้นตอนการให้บริการและการต้อนรับทักทาย แผนยุทธศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้น มีโครงการฝึกอบรม การให้คำปรึกษาการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การมีจุดต้อนรับประชาสัมพันธ์ และการแจกคู่มือกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของประชาชน โดยหลังการใช้แผนยุทธศาสตร์ พบว่า ยุทธศาสตร์ที่นำมาใช้มีผลทำให้คุณภาพการให้บริการดีขึ้น ซึ่งรับรู้ได้จาก ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการในภาพรวมการให้บริการสูงขึ้นจาก 3.03 เป็น 3.80 หลังจากใช้แผนยุทธศาสตร์

References

กระทรวงมหาดไทย. (2541). คู่มือบริการประทับใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
จรัส สุวรรณมาลา. (2539). กลยุทธ์ในการปรับปรุงบริการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: กราฟิคฟอร์แมท.
จินตนา บุญบงการ. (2545). การสร้างจิตสำนึกการให้บริการกับการปรับปรุงการบริการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: ฟอร์แมทพริ้นติ้ง.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2547). การตลาดบริหาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2536). การให้บริการแบบครบวงจรแนวทางการให้บริการเชิงรุกของกรมการปกครอง. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.
ทองใบ สุดชารี. (2545). ทฤษฎีองค์การ. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
บรรยงค์ โตจินดา. (2543). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น (1977).
มาลินี จุฑะรพ. (2542). จิตวิทยาธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (120) ตอนที่ 100ก.
วิภาพร มาพบสุข. (2545). จิตวิทยาการทำงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ คนอื่นๆ. (2545). องค์การและการจัดการ. ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สุดา สุวรรณาภิรมย์ และ วิชิต อู่อ้น. (2548). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27