บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์เมียนมาร์หลังการเลือกตั้ง ปี ค.ศ.2015

ผู้แต่ง

  • อรนิศวร์ เพรชวงศ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาททางการเมือง, พระสงฆ์เมียนมาร์, การเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างพระสงฆ์เมียนมาร์กับบุคคล คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง 2) บทบาทพระสงฆ์กับนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลเกี่ยวกับชาติพันธ์โรฮิงญา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทบาททางการเมืองของพระสงฆ์เมียนมาร์ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเมียนมาร์ โดยใช้เครื่องมือการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) เป็นการอธิบายผ่านปรากฏการณ์ (เหตุการณ์) เอกสาร และหลักฐาน

            ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์เมียนมาร์กับบุคคล คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง พบว่าความสัมพันธ์พระสงฆ์เมียนมาร์ที่เกี่ยวข้องทางการเมืองมาตลอดตั้งแต่อดีตในยุคแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระสงฆ์มีบทบาทในเรื่องของความสัมพันธ์ในการเกื้อกูลอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน และยุคต่อมาใน ช่วงอยู่ภายใต้อาณานิคมที่พระสงฆ์ใช้ขบวนการชาตินิยมในการต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ และสู่ยุคแห่งการต่อต้านรัฐบาลทหาร และนำมาสู่การเลือกตั้งสู่ความเป็นประชาธิปไตยหลังปี ค.ศ. 2015 2) บทบาทพระสงฆ์เมียนมาร์กับนโยบายโรฮิงญา ที่บทบาทพระสงฆ์ผ่านการสร้างชาตินิยมผ่านแนวคิดพหุสังคมในการสร้างขบวนการชาตินิ ยม ผ่านวาทกรรม “กีดกันมุสลิม” ที่บทบาทพระสงฆ์ผ่านการรณรงค์การปกป้องพระพุทธศาสนาจนนำมาสู่ความขัดแย้งทางเชื้อชาติจากรัฐสู่ความเห็นต่างในระดับนานาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชนชาติพันธ์โรฮิงญา

References

จรูญ สุภาพ. (2541). การเมือง. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2555). พุทธศาสนากับสังคมการเมืองในอุษาคเนย์. เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการประจำปี 2554 "500 ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย์2054-2554" กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2542). ทฤษฎีสังคมวิทยา: การสร้าง การประเมินค่า และใช้ประโยชน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Berkowitz, L. (1972). Social Psychology. Illinois: Scott Foresma.
Broom, L. and Selznick, P. Broom, L. and Selznick, P. (1955). Sociology (5th ed.). New York: Harper and Row.
Cohen, B. (1979). Introduction of Sociology. New York: McGraw-Hill.
Rush, M. (1992). An Introduction to Political Sociology. London: Thomas Nelson and sons.
Sarbin, T. and Jurnur, R. H. (1955). Role the Encyclopedia of social Science. New York: Gordon and Breach Science Publishers.
Wootton, G. (1970). Interest Groups. Englewood Clifts: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27