ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • โชฐิรส พลไชยมาตย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสน่ห์ แสงเงิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

           การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และ2) หาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากร คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 597 คน คำนวณโดยใช้สูตร Yamane Taro กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 262 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบ Systematic Random Sampling เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล, ด้านความรู้, ด้านทัศนคติ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

           ผลวิจัยพบว่า 1) ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับสูงระดับ ถึงร้อยละ 66.00  ด้านทัศนคติมีค่าเฉลี่ยในระดับสูงระดับ ถึงร้อยละ 52.30 ปัจจัยเอื้อมีค่าเฉลี่ยในปานกลางร้อยละ 83.60  ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับสูงระดับร้อยละ 76.00 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีค่าเฉลี่ยในระดับระดับปานกลางร้อยละ 63.70 และ 2) ความสัมพันธ์พบว่า ด้านความรู้, ด้านทัศนคติและปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ปัจจัยเอื้อไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิต (r = -0.07, p-value = 0.29) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย สถานพยาบาลและบุคคลากรควรมีพัฒนารูปแบบส่งเสริมกิจกรรมต่างๆในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยจัดให้มีโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับครอบครัว และสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความตื่นตัวและตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการการดูแลสุขภาพตนเอง

References

กัลยารัตน์ แก้ววันดี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
จุฑารัตน์ ทิพย์ญาณ.(2554). การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
เนตรดาว โสภีกุล. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ สูงอายุในชุมชน ตำบลบึงสาร อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(3), 171-178
เรียม นมรักษ์. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสมาชิกชมรมแอโรบิค อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุ ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562 จาก http://www.nso.go.th/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ลดปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง NCD ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562 จาก https://www.thaihealth.or.th/Books/540/
สุภาพร พูลเพิ่ม. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยนครราชสีมา. 5(2), 49-54
Green, L. & Kreuter, M. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. (4th Ed.). New York: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27