องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ กศน. ตำบล

ผู้แต่ง

  • สิตาภา เกื้อคลัง มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภัทรพล มหาขันธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, กศน.ตำบล

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกศน.ตำบล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ 1) การศึกษาองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกศน.ตำบล โดยการวิเคราะห์จากเอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และโดยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกศน.ตำบล จำนวน 17 คน และ 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกศน.ตำบล ด้วยการเก็บข้อมูลจากครูกศน.ตำบล จำนวน 370 คน โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

           ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกศน.ตำบล มีทั้งหมด 25 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การบริหารหลักสูตร 2) งบประมาณและสถานที่ 3) การเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตำบล 4) บุคลากรของกศน.ตำบล 5) การบริหารจัดการกศน.ตำบล  6) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามบริบทของชุมชน 7) การสำรวจและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 8) การวางแผนการปฏิบัติงานของครูกศน.ตำบล 9) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของครูกศน.ตำบล 10) การบริหารงบประมาณและการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่11) การออกแบบกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสิ่งแวดล้อมของครูกศน.ตำบล 12) การออกแบบการเรียนรู้ 13) ความเข้าใจผู้เรียนและการสร้างบรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูกศน.ตำบล 14) การสร้างความร่วมมือกับชุมชนและการเป็นแบบอย่างที่ดี 15) แหล่งเรียนรู้และการจัดกิจกรรมของแหล่งการเรียนรู้ 16) การบริหารจัดการและบุคลากรของแหล่งการเรียนรู้ 17) ความร่วมมือของชุมชนในการวางแผนและการดำเนินการ 18) การร่วมรับผลประโยชน์ของชุมชน 19) ความร่วมมือของชุมชนในการประเมินผล 20) ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา 21) ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการวางแผนการจัดการศึกษา 22) ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการสำรวจความต้องการของชุมชน 23) ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาสื่อและแหลงเรียนรู้ 24) ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาหลักสูตร และ 25) ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการประเมินผล

References

กุลธร เลิศสุริยะกุล. (2554). การศึกษาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู กศน.ตำบลเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการศึกษาระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นศส.ศธ.) สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
จิตตวดี ทองทั่ว. (2557). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับการจัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตในสถานศึกษา: การวิจัยปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2550). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.
ธนิก คุณเมธีกุล. (2552). การพัฒนาตัวบงชี้คุณภาพการบริหารการศึกษาเพื่อความเปนเลิศของสถานศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2544). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทย์.
นรินทร์ชัย พัฒนาพงศา. (2546). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐานเทคนิคและกรณีตัวอย่าง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2547). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
วิจิตราภรณ์ โตแก้ว. (2558). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช. (2550). การพัฒนาระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภามาศ อ่ำดวง. (2554). แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์.
สุวัฒน์ มุทธเมธา. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมพิศ ใช้เฮ็ง. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบท. วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Knowles, M. S. (1980). The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. (2nd ed.). New York: Cambridge Books.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30