การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารของเทศบาลตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ อุดมศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การบริหารงาน, เทศบาลตำบลบะยาว

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารของเทศบาลตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 8,038 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารของเทศบาลตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การมีส่วนร่วมในการติดตามข้อมูลข่าวสาร รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนา การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงาน อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 2) โดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน พบว่ามีส่วนร่วมในการบริหารของเทศบาลตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ  จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน (p>.05)

References

จินดานุช จันทรางกูล. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. งานนิพนธ์ (ร.ม.) มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณรงค์ วารีชล. (2551). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาลสู่เมืองน่าอยู่ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบางพระ. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดาริกา ดวงกลาง. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานเทศบาลเมืองแสนสุข ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทั่วไป) มหาวิทยาลัยบูรพา
นัฐติยา ปัญญา. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.
นิมิตร สุขแยง. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล: กรณี ศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรีดา เจษฎาวรางกุล. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขต เทศบาลเมืองคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรรณี กิจเจริญทรัพย์ดี. (2550). การมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของคณะ กรรมการพัฒนาสตรี (กพสม.):ศึกษาเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภวันตรี สุเกตุ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน.
มรกต ศรีรัตนา. (2535). การประเมินผลกระบวนการบริหารจัดการโครงการชุมชนย่อยต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในเทศบาลเมืองปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วท.ม.(สาธารณสุขศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). การวิจัยและประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.
อนุชา เทียมพูล. (2550). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสาหรับนักบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta G.: Georgia State University.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30