ประสิทธิผลของการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผลของการให้บริการ, สำนักงานที่ดิน, จังหวัดสระบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มาใช้บริการสำนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี จำนวนทั้งสิ้น 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบแบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบสอบถามปลายเปิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ค่าร้อยละหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความถูกต้องของงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับรองลงมาคือ ด้านความเสมอภาคในการให้บริการ ด้านกิริยามารยาทของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านระยะเวลาการให้บริการ และด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
References
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. (2552). การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี. ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2558 จาก http:/ww.opdc.go.th
ชลิดา ศรมณี. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชวลิต เหล่ารุ่งกาญจน์. (2550). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน): ศึกษาเฉพาะกรณี สาขาท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พัฒน บริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิเคราะห์และการวางแผนทางสังคม, คณะพัฒนา สังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2552). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาเตชินท์ สิทธาภิภู. (2556). ประสิทธิผลการให้บริการของเทศบาลตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ รป.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภักดิ์ริดา อ่อนสุระทุม. (2560). ประสิทธิผลการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
สุกัญญา มีแก้ว. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สุฟ่าง แซ่หว่อง. (2553). ปัญหาและความต้องการพัฒนาการให้บริการคุณภาพแก่ประชาชนของเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). pp.202-204. New York: Harper Collins Publishers.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. 90-95. New York: Wiley & Son.
Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw Hill Book Company.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว