เศรษฐกิจการเมืองของฟุตบอลไทยลีก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2561

ผู้แต่ง

  • ลัขณานันท์ ลักษมีธนานันต์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจการเมือง, ฟุตบอลไทยลีก, การครองอำนาจนำ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร 2) อธิบายถึงตัวแสดงและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านสโมสรฟุตบอลไทยลีก (T1) และ 3) ให้ทราบถึงกระบวนการบริหารที่นำไปสู่เป้าหมายของสโมสรฟุตบอลไทยลีก (T1) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือคือ การวิจัยเอกสาร ประกอบด้วย ตำราวิชาการ เอกสารและบทความที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากประธานสโมสรหรือผู้บริหารของสโมสรฟุตบอลในไทยลีก (T1) ที่เป็นกลุ่มนักการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มหน่วยงานรัฐ รวมทั้งสิ้น 11 ท่าน และจากแฟนบอล สโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด รวมทั้งสิ้น 4 ท่าน

          ผลการวิจัยพบว่า กีฬาฟุตบอลเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อ (1) การสร้างฐานอำนาจทางการเมือง พบว่า โดยส่วนใหญ่สโมสรฟุตบอลที่มีนักการเมืองและเครือญาตินักการเมืองเป็นประธานสโมสรฟุตบอล มีสถานะความเสี่ยงทางการเงินและมีภาวะผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ แต่มีนัยสะท้อนถึงอรรถประโยชน์ในด้านอื่นที่มากกว่าการมุ่งหวังเพียงผลสัมฤทธิ์ทางด้านธุรกิจ (2) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การเติบโตของฟุตบอลในไทยลีก (T1) ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งในปัจจัยเศรษฐกิจด้านรายได้ของสโมสรฟุตบอล เกิดจาก 1) เงินสนับสนุนจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2) เงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์ 3) รายได้ที่เกิดขึ้นในสนามแข่ง 4) รายได้ที่เกิดนอกสนามแข่งที่ต้องใช้กลไกตลาดด้านกีฬา (Sport Marketing) และปัจจัยเศรษฐกิจด้านการลงทุนทำทีมและรายจ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 3 กลุ่มทุนข้างต้น ต้องปรับตัวให้ดำรงความเป็นสถาบันได้ในระบบเศรษฐกิจฟุตบอลลีกอาชีพภายใต้ข้อบังคับมาตรฐานคลับไลเซนซิ่ง (Club Licensing) และ (3) การสร้างภาพลักษณ์องค์กร มี 2 ลักษณะหลัก คือ 1) การสร้างภาพลักษณ์ผ่านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) 2) การจัดกิจกรรมร่วมกับผู้สนับสนุนหลัก (Sponsor) เพื่อให้เกิดความผูกพันที่แบรนด์มีต่อจังหวัดท้องถิ่น

References

จักรี ไชยพินิจ (2560). แนวคิดสถาบันนิยม ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 82202 การเมืองเปรียบเทียบ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐศาสตร์, 3-14
จักรี ไชยพินิจ. (2559) บทวิพากษ์ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล: ข้อจำกัดในการสร้างคำอธิบายทางสังคมศาสตร์.วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา 4(1), 51-84.
จิรัฏฐ์ จันทะเสน. (2560). 111 ปี ฟุตบอลไทย: ศตวรรษฟุตบอลไทย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทยศตวรรษฟุตบอลไทย
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2552). รัฐ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา. 63.
ไชยันต์ ไชยพร. (2560). จอน เอลสเตอร์ กับทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ WAY OF BOOK, 7-25, 50-63, 78-80.
บริษัท ไทยลีก จำกัด. (2561). Summary Report Toyota Thai League 2017.
บูฆอรี ยีหมะ. (2560) การวิเคราะห์การเมืองแนวสถาบันนิยมและรัฐธรรมนูญนิยม ในแผนกิจกรรมการศึกษา ชุดวิชา81713 การวิเคราะห์การเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอกการเมืองการปกครอง, 5-13.
บูฆอรี ยีหมะ. (2543). ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล (Rational Choice Theory): อีกหนึ่งความพยายามของสังคมศาสตร์ที่จะเป็นวิทยาศาสตร์, ใน บทความนำเสนอในวิชาปรัชญาสังคมศาสตร์และการวิเคราะห์ทางการเมือง, หลักสูตรรัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก
https://www.academia.edu/4207530/ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล Rational Choice Theory.
วสันต์ ปัญญาแก้ว พงศกร สงวนศักดิ์ และจุติพร ทรัพย์ปัญญาญาณ (บรรณาธิการ). (2557). ฟุตบอลไทย:ประวัติศาสตร์อำนาจ การเมือง และความเป็นชาย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรพล พุทธรักษา. (2549). รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสร้างภาวการณ์ครองอำนาจนำ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 22, 29.
วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมมติ โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. 49–63.
สติธร ธนานิธิโชติ.(2561). ทฤษฎีรัฐและอำนาจ ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์การเมือง.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐศาสตร์, 36-37.
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). The master plan แผนแม่บทพัฒนาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). กรุงเทพฯ: สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30