การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สุชาวดี สมสีดา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศิพร โกวิท มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, ป้องกันยาเสพติด, ตำบลสวนใหญ่, จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามประชาชนในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียวOne-Way ANOVA (F-test) และเมื่อพบว่าค่า F มีความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปราบปรามยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการป้องกันยาเสพติด และด้านการเผยแพร่ข่าวสารความรู้เรื่องยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ของประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชนต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประชาชนที่มีอายุต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

References

คมกริช ศรีสองเมือง. (2550). การมีส่วนร่วมของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
จารุวัฒ สัจนวน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม: ศึกษากรณีชุมชนศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
ชุติญาณ์ พงษ์สูงเนิน. (2505). ทัศนะของประชาชนต่อการป้องกันอาชญากรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนแออัดคลองเตย กรุงเทพมหนาคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตะวัน ตระการฤกษ์. (2552). การมีส่วนร่วมของราษฎรอาสาในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปราโมทย์ จิตรสมบูรณ์. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม. (2551). รวมกฎหมายศาลยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร:ชวนพิมพ์.
สุพิศาล ภักดีนฤนาถ. (2556). แนวทางการปฏิบัติงานตามหลักการและทฤษฎีตำรวจสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1.นนทบุรี: กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิคปริ้นติ้ง.
อัจฉรียา ชูตินันท์. (2561). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง. (2522). คำบรรยายลักษณะวิชาทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน 2. ภาคการศึกษาที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์
อนุรักษ์ พัสสร. (2553). ความปลอดภัยไม่มีวันหยุด. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30