ความสัมพันธ์ของกองทัพไทยกับกองทัพจีนในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ผู้แต่ง

  • ธนพล คงเจี้ยง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์ทางทหาร, ความร่วมมือระหว่างประเทศ, อำนาจทางทหาร, ความไว้เนื้อเชื่อใจ, ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ของกองทัพไทยกับกองทัพจีนในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 2) ขอบเขตการใช้อำนาจทางการเมืองของกองทัพไทยกับกองทัพจีน 3) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้อำนาจทางการเมืองของกองทัพไทยกับกองทัพจีน และ 4) เสนอแนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือคือการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคคลหรือหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องด้านการต่างประเทศ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของทหารไทยและทหารจีน ประกอบด้วย ภาครัฐ จำนวน 3 ท่าน และนักวิชาการ จำนวน 3 ท่าน และภาคเอกชน จำนวน 1 ท่าน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของทหารไทยกับทหารจีนในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้พัฒนาไปสู่ระดับที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตและมีความเกี่ยวเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 2) กองทัพไทยกับกองทัพจีน มีจุดยืนทางยุทธศาสตร์ด้านการทหารที่เหมาะสมในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ในการดำเนินนโยบายความมั่นคงให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมโลก ผ่านกลไกความร่วมมือทั้งแบบทวิภาคีและพหุภาคีที่มีอาเซียน 3) รัฐบาลทหารในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หันมาพึ่งพาจีน เพราะไม่เป็นที่ยอมรับสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตก ฉะนั้นความสัมพันธ์ที่เริ่มจากการยอมรับให้ไทยมีรัฐบาลทหาร กลายเป็นช่องทางที่นำไปสู่การติดต่อที่ใกล้ชิดและความร่วมมืออันดีในระยะต่อมาระหว่างรัฐบาลทหารไทยกับรัฐบาลจีน 4) แนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์ พบว่า แม้ว่าไทยกับจีนจะมีความสัมพันธ์แบบพิเศษ แต่อย่างไรก็ดี ทุกประเทศก็ย่อมเห็นผลประโยชน์ประเทศของตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญ และสิ่งที่แน่นอนคือการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของนโยบายต่างประเทศที่จะสามารถสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติของไทยเป็นหลัก รวมถึงการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน เพื่อความร่วมมือและการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน

References

ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล. (2554). ความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน: ศึกษาเฉพาะกรณีความร่วมมือทางการทหาร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธโสธร ตู้ทองคำ. (2547). แนวคิดเกี่ยวกับรัฐและสังคม ใน เอกสารประกอบวิชาแนวคิดทางการเมืองและสังคมหน่วยที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีรพงษ์ รามางกูร.(2561). จีนในเวทีการเมืองโลก. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2561, จาก
https://www.prachachat.net/opinion-column/news-21643
ศูนย์ข้อมูลมติชน. (2557). มติชน บันทึกประเทศไทย ปี 2557. กรุงเทพฯ: มติชน.
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย. (2557). สายสัมพันธ์แบบพิเศษระหว่างไทยกับจีน.กรุงเทพฯ: หจก.อรุณการพิมพ์.
สมชัย อุ่นแก้ว. (2554). ความร่วมมือทางทหารไทยต่อจีนยุคหลังสงครามเย็น (จากรัฐบาลทักษิณ ถึง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1). วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2558). เสนาธิปไตย: รัฐประหารกับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
Farazmand, A. (1999). Globalization and public administration. Public Administration Review. 12(6), 511-512.
Ferguson, Y. H. & Mansbach, R. W. (2012). Globalization: The Return of borders to a borderless world? New York: Routledge.
MacMillan, J. (2006). “Immanuel Kant and the democratic peace”. Classical Theory in International Relations. Beate Jahn. (ed.) Cambridge: Cambridge University Press.
Thomas, G. M. (2007). Chapter 4 Globalization: The Major Players. The Blackwell Companion to Globalization. George Ritzer. (ed.). Blackwell Publishing.
Waltz, K. N. (2008). Realism and International Politics. Routledge: New York.
Waltz, K. N. (2010). Theory of International Politics. Long Grove, Ill: Waveland Press.
Weiss, L. (2003). Is the State Being Transformed by Globalization? State in Global Economy: Bringing Domestic Institutions Back In. Linda Weiss (ed.) Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30