แนวปฏิบัติที่ดีของการนิเทศภายใน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ เบญกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นันทิยา น้อยจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติที่ดี, การนิเทศภายใน, โรงเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 และ 2) หาแนวปฏิบัติที่ดีของการนิเทศภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1  เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 จำนวน  322 คน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีของการนิเทศภายในของโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทำการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งสิ้น 7 คน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศภายใน มีการนิเทศภายในอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) แนวปฏิบัติที่ดีของการนิเทศภายในของโรงเรียน มี5ด้าน ดังนี้  1) ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง จัดทำ PLC มีการประชุมประจำเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้บริหารควรเป็นผู้นิเทศการเรียนการสอนด้วยตนเองตามกระบวนการในทุกขั้นตอน 2) ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ  โรงเรียนจัดหาแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพครู มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ 3) ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม จัดทำ PLC จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสนับสนุนให้มีการทำงานเป็นทีม 4) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ควรมีกระบวนการจัดทำที่ชัดเจน โดยต้องอิงหลักหลักสูตรแกนกลางและสอดแทรกสภาพที่แท้จริงของท้องถิ่น  มีการประเมินการใช้หลักสูตรควบคู่ไปกับการจัดทำแผนการเรียนรู้ 5) ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โรงเรียนควรจัดทำเป็นโครงการอยู่ในแผนปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา เพื่อสามารถกำหนดงบประมาณได้อย่างเหมาะสม

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2550). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการ พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
คุณากร ศรีสองเมือง. (2552). ระดับการดําเนินงานนิเทศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 วิทยานิพนธ์ ค. ม. (การบริหารการศึกษา).กาฬสินธุ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.
ธีรศักดิ์ เลื่อยไธสง. (2550). การนิเทศภายในโรงเรียน (In - School Supervision). ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2550, จาก www.sittinoom.blogspot.com
นทจร ธีรปัญญาภรณ์. (2554). การดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ (กศ.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา:มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชรินทร์ ช่วยศิริ. (2554). การศึกษาการดําเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิบูลชัย ศรีเข้ม. (2553). การศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 10 การบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เมธินี สะไร. (2560). การนิเทศภายในสถานศึกษากลุ่มสหพัฒนา อำเภอรือเสาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ราตรี สายเขียว. (2557). สภาพการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ราตรี ฉวีวงค์. (2551). การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2. วิทยานิพนธ์ (ค. ม. การบริหารการศึกษา): มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สมนึก โกเสนตอ. (2551). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา โรงเรียนบ้านแม่ลาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย. ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วันฤดี ปุยะ. (2551). ปัญหาและความต้องการการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Beach, D. M. & Reinhartz, J. (2000). Supervisory leadership: Focus on instruction. Boston: Allyn & Bacon.
Harris, B. M. (1985). Supervisory Behaviors Education. (2nd ed.). New Jersey: Prentice- Hall.
Lucio, W. H. & McNeil, J. D. (1962). Supervision: A Synthesis of Thought and Action. New York: Mc Graw-Hill Book Co., Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30