รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
คำสำคัญ:
รูปแบบ, สมรรถนะเป็นครู, พุทธบูรณาความการ, ครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) นำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 400 คน โดยใช้กฎแห่งการปฏิบัติ (Rule of Thumb) และวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบสมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีจำนวน 5 องค์ปะกอบ 88 ตัวแปร ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 ด้านครูต้องรอบรู้ มีจำนวนตัวแปร 17 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 ด้านครูต้องจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผู้เรียนมีจำนวนตัวแปร 14 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 ด้านเป็นครูผู้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจำนวนตัวแปร 18 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 เป็นครูผู้พัฒนาตนและวิชาชีพมีจำนวนตัวแปร 17 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 5 เป็นครูผู้สร้างสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน มีจำนวนตัวแปร 19 ตัวแปร ซึ่งมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.359 – 0.666 2) นำเสนอรูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรูปแบบประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครู 4. การนำรูปแบบไปใช้ และ 5. เงื่อนไขความสำเร็จ ดำเนินการตรวจสอบรูปแบบทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ด้านความถูกต้องและในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ
References
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562, (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอน 68 ง, หน้า 2–3.
จุฑารัตน์ คชรัตน์ และคณะ. (2561). สมรรถนะความเป็นครูมืออาชีพของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐมน พันธุ์ชาตรี. (2559) การสร้างคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2561). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนอนาคตครูไทย ครูพันธุ์ C. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2561, จาก https://sornorinno.blogspot.com/2010/09/c-c-teacher.html
ทัศนา ประสานตรี. (2555). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม. คณะศิลป ศาสตร์และวิทยาศสตร์, มหาวิทยาลัยนครพนม.
นิทัศน์ หามนตรี. (2557). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม ฉบับเพิ่มเติมและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.หน้า 603-604.
พระมหาเสกสรร จิรภาโส. (2552). การศึกษาวิเคราะห์หลักไตรสิกขาที่มีต่อการจัดการศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิภาวรรณ เอกวรรณัง. (2560). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูสาหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ, Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 9(2).
สิดารัศมิ์ สิงหเดชาสิทธิ์.(2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกิจ โพธิ์ศิริกุล. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
สุไม บิลไบ.(2558). สมรรถนะ ทักษะและบทบาทครูไทยศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สำนักงานราชบัณฑิตสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. (2nd Edition) New Jersey: Erlbaum.
McClelland, D. C. (1975) A Competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. p. 32. Boston: Mcber.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). p. 727-728. New York: Harper and Row Publication.
Seels, B. B. & Richey, R. C. (1994). Instructional technology: The definitions and domains for the field. Washington. D.C.: Association for Educational Communications and Technology.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว