การบริหารธุรกิจตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เมธา หริมเทพาธิป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กีรติ บุญเจือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารธุรกิจ, พุทธปรัชญาเถรวาท, พระไตรปิฎก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการบริหารธุรกิจและหลักธรรมที่พบได้ในพระสูตร 2) การบริหารธุรกิจตามหลักธรรมที่พบได้ในพระสูตร และ 3) วิธานงานวิจัยในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาพระไตรปิฎกและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลัก โดยรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลในประเทศและจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศ ได้แก่ หนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจโดยทั่วไป ซึ่งเน้นการบริหารตน การบริหารคน และการบริหารงานเป็นสำคัญ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการบริหารอาจมีได้หลายรูปแบบแต่ทุกแบบเน้นที่ความสำเร็จเป็นจุดหมายเหมือนกันโดยใช้วิถีต่าง ๆ กัน 2) การบริหารตามพระไตรปิฎกนั้นเน้นการฝึกฝนข่มจิตใจของตนให้อยู่เหนืออารมณ์ โดยฝึกทั้งศีลด้วยการรักษากิริยามรรยาทและปฏิบัติสมาธิ ทำจิตใจให้มั่นคงไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่เข้ามากระทบ และเจริญปัญญาให้รู้เท่าทัน รู้เหตุ รู้ผล ไม่เป็นทาสของอารมณ์ รู้จักประยุกต์หลักธรรมมาใช้อย่างรัดกุม ใช้ปัญญาแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์อย่างมีเหตุผล รู้จักรักษากิริยามรรยาทตนเอง ให้ดี (การครองตน) ได้แล้วก็พึงค่อยสอนผู้อื่นให้รู้และกระทำตามด้วยการปรารถนาดีต่อผู้อื่นโดยใช้คุณธรรม เอาใจใส่สมาชิกในองค์กร ปลอบใจให้กำลังใจกันและกัน (การครองคน) รู้จักใช้บุคคลตามความสามารถของแต่ละคน ในการปกครองด้วยหลักแห่งธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม เกิดประโยชน์แก่บุคคล แก่สังคมหมู่ใหญ่ แก่มวลมนุษย์ชาติ (การครองงาน) 3) การวิธานงานวิจัยในสังคมไทย ควรนำเอาผลการวิจัยไปสร้างและขยายผลเป็นแบบจำลองหลักสูตรการบริหารเชิงพุทธสำหรับพัฒนาผู้นำองค์กร และนำผลวิจัยในส่วนที่เป็นหลักธรรมสำหรับผู้บริหารไปปรับใช้ในองค์กรทางด้านการบริหาร ใช้หลักธรรมการบริหารตน บริหารคน และบริหารงานมาปรับใช้เพื่อการพัฒนาในระดับปัจเจกบุคคล

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
นรี ภวการตานันท์. (2538). การบริหารการเมืองการปกครองในแนวพุทธศาสนา: ศึกษาจากนักคิดและพระไตรปิฎก. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552ก). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552ข). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2559). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: บริษัท จี.พี.ไซเบอร์พรินท์ จำกัด.
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2557). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.
พระมหาสุภีร์ ฐิตเมโธ. (2533). พระพุทธศาสนาที่ควรนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารราชการ, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระสุทธิพงศ์ ธรรมพิทักษ์. (2544). การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธจริยธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท: ระหว่างพระเจ้าพิมพิสาร กับ พระเจ้าปเสนทิโกศล. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เมธา หริมเทพาธิป กีรติ บุญเจือ และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2558). เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตร: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. วารสารวิชาการรมยสาร, 13(3): 69-78.
Kingsbury, C. J. R. (1965). Cassiterite and wolframite veins of Aberfoyle and Storley’s Creek, in McAndrew, John, ed., Geology of Australian ore deposits: Australasian Inst. Mining and Metallurgy Proc., Vol. 1.
Mondy, W. R. & Noe, R. M. (1990). Human Resource Management. Boston: Allyn and Bacon.
Vatsyayan, K. (1986). Made Easy Ethics. New Delhi: Kedar Nath Ram Nath.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30