ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การเลือกศึกษาต่อ, ประกาศนียบัตรวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ จำแนกตามสาขาวิชา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อันดับแรก คือ ด้านแรงจูงใจในการศึกษาต่อ (µ=3.88) รองลงมา คือ ด้านเจตคติในการเรียนวิชาชีพ (µ=3.86) และรองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานศึกษา (µ=3.83) ตามลำดับ 2) เมื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อจำแนกตามสาขาวิชาโดยรวม พบว่า อันดับแรก คือ สาขาวิชาการท่องเที่ยว (µ=4.15) รองลงมา คือ สาขาวิชาการบัญชี (µ=3.93) และรองลงมา คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (µ=3.88) ตามลำดับ และเมื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อจำแนกตามสาขาวิชาเป็นรายด้าน พบว่า สาขาวิชาการท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับทุกปัจจัยในระดับมากที่สุด และทุกสาขาวิชาให้ความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อทุกด้านอยู่ในระดับมาก
References
กรประภา อุบลจันทร์. (2553). เจตคติต่อวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2557). การเตรียมความพร้อมเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร: กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
ก่องกาญจน์ เกตุพระนิมิต และโอฬาร กาญจนากาศ. (2560). องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 64- 65.
จินตนา โนมวงศ์, วราพร เอราวรรณ์ และพัฒนพงษ์ วันจันทึก. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มและการวิเคราะห์ซัพพอร์เวกเตอร์แมชชีน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9 (ฉบับพิเศษ), 77- 78.
พิพัฒน์ นวลนิ่ม. (2558). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพะเยา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
ภัคชุดา เสรีรัตน์. (2560). ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาของนักเรียนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศรีเทพ หง้าบุตร. (2553). การตัดสินใจการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมโชค มีขวด. (2558). การศึกษาองค์ประกอบการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสายอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สมพงษ์ สมจิตโต และกฤษฎา นันทเพ็ชร. (2559). สภาพการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(3), 48-59.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2554). การตลาดสถานศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
Carter, D. (2017). The 4Ps Are Out, the 4Es Are In. Access date: 2018, November 17, from: https://www.growthcubed.com/2017/04/24/4ps-4es/
Danziger, P. (2016). Luxury Marketing’s Higher Calling – from the 4Ps to the 4Es. Access date: 2018, November 17,from: https://unitymarketingonline.com/luxury-marketings-higher-calling-from-the-4ps-to-the-4es/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว