แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปาง เป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาดออนไลน์, เมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย, จังหวัดลำปางบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจรูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย 2) เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ “กลุ่มผู้พัฒนา” วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมายมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ เว๊บไซด์ขององค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของ“ผู้พัฒนา (Supply Side)” การตลาดผ่าน Facebook Fan Page (Facebook Marketing) และการใช้ Bloggers/Reviewers ในการรีวิวแหล่งท่องเที่ยวและการบริการในจังหวัดลำปาง เป็นต้น 2) ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าจังหวัดลำปางมีโอกาสในการพัฒนาการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเพราะมีความหฃากหลายของทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และเป็นหนึ่งในจังหวัดที่รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง แต่มีปัญหาขาดการบริหารจัดการด้านการสื่อสารทางการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางทำให้กลุ่มเป้าหมายนอกพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆในด้านการท่องเที่ยวได้ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมายประกอบด้วย 4 กลยุทย์ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน และ 4) กลยุทธ์เชิงรับ
References
กรมการท่องเที่ยว. (2556). แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว ภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกพ.ศ. 2559-2563. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7704
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง พ.ศ.2561-2564.
ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2561, จาก http://www.lampang.go.th/stragegic/index9.html
ณัฏฐิรา อำพลพรรณ. (2559). เทรนท่องเที่ยวโลก 2015 HIPPTERS, SHARING, Startup. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562, จาก TAT Review 2/1(Available From: Http://www.etajournal.com/.
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิศศา ศิลปเสรฐ. (2560). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). การตลาดบริการ Service Marketing. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
วรสุวิชช์ โพธิสัตย์. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด(การจัดการการท่องเที่ยว), มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเดช สุเมธาภิวัฒน. (2559). การสื่อสารการตลาดในยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยังยืน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม): 110-117.
อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Don E. Schultz. (1996). The New Marketing Paradigm: Integrated Marketing Communications (1 edition). New York: McGraw-Hill.
Mcmill, J.H. and Schumacher, s. (1997). Research in Education. The United States of America: Addison-Wesley Educational.
Kotler T. Philip, John T. Bowen and James Makens. (2010). Marketing for Hospitality & Tourism (5th Edition). Boston: Prentice Hall.
Mess Berlin Gmbh. (2015). ITB WORLD TRAVEL TRENDS REPORT 2015/2016. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2562, จาก Available From: http://www.itb-berlin.de/media/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว