ศึกษาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกบาลีของพระสงฆ์ไทย
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, พระปริยัติธรรมแผนกบาลี, คณะสงฆ์ไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกบาลีของพระสงฆ์ไทย และ 2) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกบาลีของพระสงฆ์ไทย เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสัมภาษณ์เจ้าสำนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม พระอาจารย์สอนบาลี 10 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การแจกแบบสอบถามพระภิกษุสามเณรนักเรียนบาลี 200 รูป จากโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีที่มีผลงานดีเด่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกบาลีของพระสงฆ์ไทย พบว่า 1) ผู้บริหารขาดแคลนครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน 2) ใช้ระบบพี่สอนน้อง 3) อุปสรรคสำคัญในการจัดการการศึกษาพระบาลี 4) การจัดการเรียนการสอน 5) การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
- ผลศึกษาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกบาลีของพระสงฆ์ไทย ประกอบด้วย 1. ส่วนนำ คือ 1) หลักการสร้างศาสนทายาท 2) วัตถุประสงค์การสร้างศาสนทายาท 3) บริบทความพร้อมของสำนักเรียน 2. กระบวนการจัดการเรียนรู้ศาสนทายาท ประกอบด้วย 1) วิธีการจัดการเรียนรู้ศาสนทายาท 2) การดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ศาสนทายาท
3) กิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ศาสนทายาท 4) หลักธรรมเพื่อการพัฒนามนุษย์และคุณลักษณะที่บังเกิดขึ้น 3. การนำกระบวนการไปปฏิบัติการจริง ประกอบด้วย 1) ขั้นการเตรียมการดำเนินงาน 2) ขั้นการดำเนินงาน 3) ขั้นการประเมินผลการดำเนินงาน
References
คณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. (2561). การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562, จาก http://www.buddhism4.com/web/index.php/9-1/4-2017-10-21-19-13-40.
จารุวรรณ ธรรมวัตร และคณะ. (2545). รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาวัดบึงอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์.(2550). การศึกษาภาษาบาลี. กรุงเทพมหานคร: กองพุทธศาสนศึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พรชุลี อาชวอำรุง และคณะ. (2545). รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาวัดสุทธิวารี อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
พระปลัดสัมฤทธิ์ เทวธมฺโม (เปจิตตัง). (2553). รวมบทความวิชาการโครงการสัมมนาวิชาการ. ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่น, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์จำกัด.
พระพิจิตรธรรมพาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน). (2544). นักเทศนายุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.
พระมหาวิเชียร ตุ่นแก้ว. (2548). สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติแผนกธรรม กรุงเทพมหานคร. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2530). ทางสายกลางของการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์
พรินติ้งกรุ๊ฟ.
มงคลชัย ศรีสะอาด. (2555). รูปแบบการบริหารงานสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-แผนกบาลี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชัย ตันศิริ. (2550). อุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรินทิพย์ สถีรศิลปิน และคณะ. (2545). รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาวัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2545.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักเรียนวัดปากน้ำ. (2549). ประวัติความเป็นมาของสำนักเรียนวัดปากน้ำ. กรุงเทพมหานคร: สตาร์กรุ๊ป.
Quirk, R. (1987). Longman dictionary of contemporary English. (2nd ed.). London, England : Richard Clay Ltd.
Yamane, Taro. (1967). Stratistics: An Introductory Analysis. 2 nd ed. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว