ยุทธศาสตร์พลังประชารัฐกับชัยชนะในภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สัณหพจน์ สุขศรีเมือง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์ทางการเมือง, พรรคพลังประชารัฐ, การเมืองในภาคใต้

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทเชิงโครงสร้างทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐในพื้นที่ภาคใต้
2) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐในพื้นที่ภาคใต้ และ 3) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริบทเชิงโครงสร้างทางการเมืองกับยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทย รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัยคือภาคใต้จำนวน 14 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลสำคัญ ผู้บริหารของพรรคพลังประชารัฐ จำนวน 4 คน นักการเมือง ผู้ทรงคุณวุฒิทางการเมือง จำนวน 3 คน และนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ จำนวน 1 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลใน 2 ลักษณะ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย และการวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า

  1. การปกครองประเทศภายใต้รัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปตามคติพจน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยที่ผู้วิจัยสามารถสรุปบริบทเชิงโครงสร้างทางการเมืองผ่านคติพจน์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  2. ยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐเป็นการนำเอาแนวนโยบายหลักของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้คิดและปฏิบัติไว้อยู่แล้วนั้น นำมาต่อยอดและสานต่อแนวทางต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายเป็นไปตามวิถีทางที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติดำเนินไว้
  3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริบทเชิงโครงสร้างทางการเมืองกับยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐส่งผลให้การเมืองการปกครองไทยยังคงเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบอยู่เท่านั้น

References

จิราภรณ์ ดำจันทร์. (2547). ความนิยมของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้: ศึกษากรณีเขตเลือกตั้งที่ 1 และที่ 10 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตวงทิพย์ พรมเขต. (2558). แนวคิดและยุทธศาสตร์ทางการเมืองของ ดี. เอ็น. ไอดิต ในช่วง ค.ศ. 1951-1965. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพวรรณ นิโรจน์. (2553). ปัญหากฎหมายการจัดองค์การพรรคการเมืองไทย. ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บรรณาธิการ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติต้องสร้างโอกาสประเทศ. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-235769.

ประภาพร สีหา. (2560). ความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2): 146-166.

ปิยฤดี ไชยพร. (2554). ประชาธิปไตย. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2562, จาก http://www.parst.or.th/ philospedia/democracy.html#31.

ปิยฤดี ไชยพร. (2554). ประชาธิปไตย. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562.

จาก http://www. parst.or.th/philospedia/democracy.html#31.

วรกร คำสิงห์นอก. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อ สร้างพรรคการเมืองอย่างยั่งยืน. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันชัย พรหมภา. (2554). กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562. จาก http://lovedemocracy.com/WANCHAI.html.

วารุณี ลีเลิศพันธ์. (2560). การสร้างฐานคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในภาตใต้. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เวิร์คพอยนิวส์. (2562). เทียบผลการเลือกตั้ง 54-62 แต่ละภาคคะแนนโหวตเปลี่ยนแปลงอย่างไร. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562. จาก https://workpointnews.com/2019/05/ 31/news190531/.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2548). กฎหมายรัฐธรรมนูญหลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สยามรัฐออนไลน์. (2562). ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ เขต 1 จังหวัดตรัง เร่งลงพื้นที่หาเสียงกับประชาชน. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562. จาก https://siamrath.co.th/ n/68250.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2554). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: ศึกษาบทบาทพรรคการเมืองและพฤติกรรมและการตันสินใจเลือกตั้ง ของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2554). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: ศึกษาบทบาทพรรคการเมืองและพฤติกรรมและการตันสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สีดา สอนศรี. (2545). พรรคการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: พัฒนวิจัย.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2558). เสนาธิปไตย: รัฐประหารกับการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2556). สองนคราประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ไอลอว์. (2562). 3 ปี ประชามติ: คสช. ร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรให้ตัวเองอยู่ต่อหลังเลือกตั้ง. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://ilaw.or.th/node/5356.

Schumpeter, Joseph. (1943). Capitalism, socialism, and democracy. London: George Allen & Unwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-16