การศึกษาสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักภาวนา 4 ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
สุขภาวะ, หลักภาวนา 4, ไทยแลนด์ 4.0บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักภาวนา 4 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อเสนอสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักภาวนา 4 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยมีกลุ่มตัวอย่างนิสิต จำนวน 247 รูป/คน และสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 5 รูป วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า(1) สภาพสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ของนิสิต ด้านสุขภาวะทางกาย มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาวะทางจิต มีจิตใจที่เป็นสุข สุขภาวะทางสังคม มีการอยู่ร่วมกันได้ดี สุขภาวะทางปัญญา มีความสุขที่เกิดจากมีจิตใจสูงทั้ง 4 ด้าน เป็นเชิงบวก นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในระดับที่ดีมากในการดูแลสุขภาพตามยุคไทยแลนด์ 4.0 (2) ผลการศึกษาสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักภาวนา 4 ของนิสิต ภาพรวมนิสิตมีความคิดเห็นต่อสภาพสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักภาวนา 4 ตามลำดับคือ คือ ด้านกายภาวนา ด้านปัญญาภาวนา ด้านจิตภาวนา และด้านศีลภาวนา และ (3) ข้อเสนอสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักภาวนา 4 ของนิสิต ด้านกายภาวนา การดำเนินชีวิตให้มีความสุข ด้านศีลภาวนา พัฒนาศีล ด้านจิตภาวนา การเสริมสร้างความรู้ความคิดความเข้าใจ ด้านปัญญาภาวนา แก้ปัญหา มีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง
References
นันทนา ปรีดาสุวรรณ และคณะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์และสามเณร: กรณีตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน. น่าน : สาธารณาสุขจังหวัดน่าน.
ปัณณธร ชัชวรัตน์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองจังหวัด พะเยา. รายงานวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น (แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มปป..
. (2551). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ. (2543). พระพุทธศาสนากับการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวม. สงขลา: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
พิชญรัชต์ บุญช่วย. (2549). การศึกษากระบวนการสร้างภาวนา 4 โดยใช้หลักไตรสิกขา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทรธิรา ผลงาม. (2555).การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในประเทศไทยและญี่ปุ่น. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สุวัฒสัน รักขันโท, และคณะ. (2551). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุในเขตภาคใต้ตอนบน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรอุมา เลาหพิบูลย์กุล. (2557). วิธีการบำบัดรักษาสุขภาพเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสถาบันวิจัยญาณ สังวร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 39-46.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W.. (1970). Determining Sample Size for Research Activi- ties. Educational and Psychological Mea- surement. 30: 607 - 610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว