การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาปารมิตาในทรรศนะปรัชญาหลังนวยุค สายกลาง
คำสำคัญ:
ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง, ปรัชญาปารมิตา, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักปรัชญาปารมิตาในทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความเป็นจริง ผลการวิจัยพบว่า หลักปรัชญาปารมิตามีเป้าหมายในการยกระดับจิตเพื่อเข้าสู่สุญญตาหรือความว่าง พระสูตรมุ่งเน้นให้ผู้นับถือศรัทธานำไปปฏิบัติให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง การละความยึดมั่นถือมั่นทำให้มีปัญญาพิจารณาอย่างมีเหตุมีผล เมื่อเกิดความเข้าใจก็จะสามารถนำปัญญาที่เกิดขึ้นมาพัฒนาคุณภาพจิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เมื่อจิตดีมีกำลัง ใจกายก็จะดีตามไปด้วย ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติมีสุขด้วยปัญญา สอดคล้องกับหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางที่ส่งเสริมให้ใช้ปัญญาพิจารณาทุกปัญหาด้วยการใช้วิจารณญาณ สำหรับผู้ที่ไม่มีความเชื่อเรื่องโลกหน้า เรื่องจิต ก็สามารถใช้หลักปรัชญานี้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพบกับความสุขแท้ ด้วยการใช้หลัก 3 กล้า คือ กล้าเผชิญปัญหา กล้าประเมินวิธีปฏิบัติ และกล้าลงมือทำด้วยความรับผิดชอบ และพลัง 4 คือ พลังสร้างสรรค์ พลังร่วมมือ พลังปรับตัว และพลังแสวงหา ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางจึงเป็นปรัชญาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางกายและจิต ที่ตอบสนองต่อปรัชญาปารมิตาในระดับขั้นเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสัญชาติญาณปัญญา ส่วนปรัชญาปารมิตามีเป้าหมายในระดับสูงเพื่อยกระดับจิตใจเข้าสู่สุญญาตา
References
กีรติ บุญเจือ. (2545ก). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น เริ่มรู้จักปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
_______. (2556). ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม รวมศีลธรรมในประเทศไทยจากมุมมองของแซมมวล ฮันติงตัน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. ฉบับปรับปรุงและขยาย ความ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระพรหมบัณฑิต. (2561). พระไตรปิฎกฉบับสากล: วิถีธรรมจากพุทธปัญญา. พระนครศรีอยุธยา มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
องค์ทะไลลามะ. (2559). ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง. แปลโดย/นัยนา นาควัชระ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว