ปัญหา แนวทางการพัฒนา และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริม การประชาสัมพันธ์ของกระทรวงวัฒนธรรมตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สฤษฎเกียรติ แจ่มสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การประชาสัมพันธ์, กระทรวงวัฒนธรรม, แนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงวัฒนธรรม (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงวัฒนธรรม และ
(3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ ตามกรอบแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน 5 ด้าน ระเบียบวิธีวิจัย เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณที่มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสนามเป็นจำนวนมากด้วยแบบสอบถาม ประชากร คือ ประชาชนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของสำนักงานเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร จำนวน 81,689 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว จำนวน 1,097 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กระทรวงวัฒนธรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต หรือรายได้ของประชาชนไม่มากเท่าที่ควร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กระทรวงวัฒนธรรมควรกำหนดนโยบายและแผนงานไว้อย่างชัดเจน ต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณสำหรับส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในทิศทางที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และไม่สร้างภาระให้กับประชาชน และ (3) กระทรวงวัฒนธรรมควรกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนที่ประกอบด้วย 5 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ ด้าน (1) สิ่งแวดล้อม (2) คุณภาพชีวิต (3) สังคม (4) เครือข่าย และ (5) เทคโนโลยี

References

ฉัตรทิพย์ กวีวัฒนา และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2562). การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562): 1-16.

นัทฐิลาวัลย์ จรัสวิชากร. (2562). การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อให้บริการจัดเก็บขยะในตลาดของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562): 361-370.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.

วีณา วิจัยธรรมฤทธิ์. (2562). การบริหารจัดการด้านการอานวยความสะดวกเพื่อป้องกันและบรรเทา

สาธารณภัยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2562): 116-142.

สฤษฎเกียรติ แจ่มสมบูรณ์. (2559). การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนรายการเทิดพระเกียรติของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559): 214-226.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2556). จำนวนประชากรและบ้าน. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จากhttp://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html.

สีฟ้า แจ่มวุฒิปรีชา. (2559). การบริหารจัดการเพื่อให้บริการด้านการจัดเก็บขยะของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 8 ฉบับที่ 16 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559): 54-65.

Yamane, Taro. (2012). Mathematics for Economists: An Elementary Survey. Whitefish, Montana: Literary Licensing, LLC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09