ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมด 26,072 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 393 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านร่างกาย คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้าน คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านความสัมพันธ์ทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านความสัมพันธ์ทางสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความพึงพอใจในชีวิตทางเพศ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ท่านมีความรู้สึกพอใจกับสัมพันธภาพระหว่าง ท่านกับสมาชิกในครอบครัว ท่านสามารถให้การช่วยเหลื่อสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2561 ด้วยระบบ POWER BI. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์2562, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1550973505-153_0.pdf
จันทร์ทิรา เจียรณัย. (2557). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังด้วยระบบเตือนผู้ป่วยอัตโนมัติทางโทรศัพท์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: นครราชสีมา.
ปภัสสิริ ไชยวุฒิ. (2556). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรียาดา ยังอยู่. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลดอนยาง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ภูมิ โชคเหมาะ และคณะ. (2552). กฎหมายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
มาลี ปุยเสาธง. (2555). การสำรวจคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลบ้านไร่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าอิสระคหกรรมศาตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนา ครอบครัวและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิไลพร ขำวงษ์ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วิทยาลัยพยาบาลบรม-ราชชนนี จังหวัดนนทบุรี.
สิริมา อิทธิ์ประเสริฐ. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแกลงกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวัฒน์ มหัตนิรนดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2559). เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. ผู้แปล. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต.
สุวิทย์ งอกศรี. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา อำเภอ
พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.
Lawton, J. (2000). The dying process: Patients’s experiences of palliative care. London : Routledge.
Peck R. (1968). Psychological developments in the second half of life. In: Neugarten,B .(Ed.), Middle Age and Aging. Chicago: University of Chicago Press; 1968 .pp.88-92.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว