แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วิศิษฏ์ เตชาวัฒนากูล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, เบี้ยยังชีพ, การให้บริการ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นในกระบวนการการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม จากผู้สูงอายุ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก รองลงมาด้านการให้บริการ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
  2. 2. ความพึงพอใจโดยรวมของผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
  3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า ควรมีการปรับปรุงแก้ไขการเข้าใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ และควรมีการอัพเดตข้อมูลจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

References

กมลชนก เบญจภุมริน. (2556). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการให้บริการการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศนีย์ สุวดิษฐ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ ศึกษากรณีเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2015). สังคมผู้สูงอายุ : นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. สืบค้นจาก http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html.
สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ. สืบค้นจาก https://bongkotsakorn. wordpress.com/2013/06/06/เทคนิคการทำงานให้ประสบความสำเร็จ/.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ. (2558). การจัดระบบการดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในครอบครัว และชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ.
Kotler and Armstrong, G. (2008). Principles of Marketing. 13th Edition. Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-02