รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน, ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์, คนในชุมชนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนโดยศึกษาจากกรณีของชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ คนท้องถิ่นในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว จำนวน 7 คน คัดเลือกโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงร่วมกับการคัดเลือกแบบก้อนหิมะ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบแก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ตามองค์ประกอบหลักของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่า ชุมชนได้นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ และการสร้างการรับรู้ถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนให้กับนักท่องเที่ยว โดยไม่ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตเดิมของคนในชุมชน 2) ในด้านองค์กรชุมชน พบว่า คนในชุมชนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และร่วมกันบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยว อีกทั้งยังไม่พบปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในด้านนี้แต่อย่างใด 3) ในด้านการจัดการ พบปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในช่วงเริ่มการจัดการท่องเที่ยว โดยคนในชุมชนท้องถิ่นไม่ให้ความร่วมมือกับการพัฒนาการท่องเที่ยว และ 4) ด้านการเรียนรู้ พบว่ากิจกรรมที่ชุมชนได้พัฒนาขึ้นจากสิ่งแวดล้อมในชุมชน ประกอบกับการให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างแท้จริง
References
ชุติกาญจน์ กันทะอู. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นพื้นฐาน: กรณีศึกษา บ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2541). "วัฒนธรรมกับการพัฒนา" ในไทยยุควัฒนธรรมทาส. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
พจนา สวนศรี. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชา หน่วยที่ 8-15 การจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 7(3), 650-665.
วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีระพล ทองมา และ ประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต้อประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยโดยชุมชน. (2555). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก http://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbt/
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2558). สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก http://www.cbt-i.or.th/?ge=show_pages&gen_lang=20112012094103#.XAd_-GgzY2w
สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชนแนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. โครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวและชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: วนิดาเพรส.
สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology: Qualitative research in psychology. London: Routledge.
Fennell, D.A. (1999). Ecotourism: An Introduction. London: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว