แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โรงเรียนกลุ่มทวาราวดี

ผู้แต่ง

  • จิรภัทร์ กาญจนครุฑ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นันทิยา น้อยจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน, สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวัง, โรงเรียนกลุ่มทวาราวดี

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครโรงเรียนกลุ่มทวาราวดี และ 2) เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สภาพจริงและสภาพที่คาดหวังของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครโรงเรียนกลุ่มทวาราวดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาโรงเรียนกลุ่มทวาราวดี จำนวน 280  คน ผู้บริหาร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตร Modified Priority Needs Index (PNI modified)ค่าดัชนี PNI

             ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ในภาพรวมพบว่า มีสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังพบว่า ค่าเฉลี่ยสภาพที่คาดหวังสูงกว่าค่าเฉลี่ยสภาพที่เป็นจริงทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้  ด้านทรัพยากรธรรมชาติ PNI = 0.121 รองลงมาคือ ด้านสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี PNI = 0.120 ด้านวิชาการ PNI = 0.115 และด้านวัฒนธรรม ประเพณี PNI = 0.114 ตามลำดับ 2)  แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังระดับประถมศึกษากรุงเทพมหานครโรงเรียนกลุ่มทวาราวดี โดยใช้กระบวนการ PDCA จำแนกตามรายด้าน ด้านวิชาการมีการวางแผนประชุมกำหนดการดำเนินงานให้ชัดเจนตามวัตถุประสงค์ ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี ผู้บริหารและครูมีการวางแผนประชุมกำหนดการดำเนินงานติดตามผลการประเมินเพื่อนำมาแก้ไขให้ดีขึ้น ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินงานแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อกับการใช้งาน  ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ผู้บริหารและครูมีการวางแผนประชุม ดำเนินงานให้เป็นระบบตามวัตถุของโรงเรียน

References

กัญวรา วงศ์ธิดา.(2553). รูปแบบการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนแม่โถ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

คำ วงค์เทพ, (2554). การศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน้อยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชัยวัฒน์ วรรณพงษ์ (2541). ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางดีอย่างไร. ปฏิรูปการศึกษา 1, 1(5), 8.

ทัศนีย์ อันติมานนท์. (2553). การบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ปริญญา ไตรพรหม. (2552). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

พรรณี เสี่ยงบุญ. (2555). การพัฒนาการดาเนินงานเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านหนองบัวคู อำเภอนาคูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิศิษฐ์ ทิพย์อักษร. (2551). ระดับการใช้แหล่งเรียนรู้โรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

มาลายา วิจันทร. (2552). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านปางคาม ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

รัสรินทร์ ภัทรพรไพศาล. (2557). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับปฐมวัย พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), 364-371.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

วราพร พงษ์ปลัด. (2550). การบริหารการใช้แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของครูผู้สอนระดับช่วงชั้นที่ 3-4 .ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

ศิริพร กองแก้ว. (2548). การศึกษาสภาพการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนในสังกัดเทศบาล จังหวัดลพบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สรรค์ วรอินทร์. (2545). ครูกับการจัดการศึกษาของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

สุรเกียรติ งามเลิศ. (2559). บทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. Cambridge: Massachusetts Institute of Technology.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-19