คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, การตัดสินใจศึกษาต่อบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการ ที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต โดยศึกษาจากลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จำนวน 307 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)ทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และค่าสถิติสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และกลุ่มสาขาวิชา แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แตกต่างกัน โดยมีค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้คุณภาพการให้บริการ ที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มากที่สุดคือ ด้านการบริหารจัดการ ( = 0.284) รองลงมาคือ ด้านค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (= 0.217) ด้านโครงสร้างพื้นฐานมหาวิทยาลัย ( = 0.173) ด้านความเป็นสากล( = 0.173) และด้านหลักสูตรการศึกษา ( = 0.116) ตามลำดับ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1) ด้านการนำไปใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตให้มีคุณภาพส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) ด้านเชิงนโยบาย เพื่อชี้นำให้องค์กรของภาครัฐที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัยนำข้อมูลไปพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
References
กุสุมา ปักปิ่นเพชร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.
จิราลักษณ์ ฤทธิเดชโยธิน. (2544). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉัตรชัย อินทสังข์ และคณะ. (2552). ความต้องการศึกษาต่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ของนักศึกษาจังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560 (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ทรงธรรม ธีระกุล และคณะ. (2556). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(2), 48-61.
ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 256-271.
ประดิษฐ์พงศ์ โตธรรมเจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐบาลกับมหาวิทยาลัยเอกชน (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พรรณพนัช จันหา และอัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 291-318.
พระไพฑูรย์ อธิฏฐาโน (สีหาบุตร). (2545). การศึกษาเจตคติและความต้องการของพระนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาศาสนศาสตร์บัณฑิตต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท(วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ภัทรสุดา จารุธีรพันธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10(32), 35-46.
ยุรมาศ อุดมศิริ. (2559). การศึกษาการรับรู้คุณภาพการบริการทางการศึกษาต่อ ความพึงพอใจ ความจงรักภักดี และแรงจูงใจของนักศึกษา MBA ในประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลัชชา ชุณห์วิจิตรา และณัฐวรรณ ครุฑสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร MAHIDOL R2R E-JOURNAL, 3(1),111-123.
วิทวัส สัตยารักษ์. (2552). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชน (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
อรรณพ ตันละมัย. (2550). ก้าวข้างหน้า...ที่ท้าทายของ MBA. ใน การสัมมนาทางวิชาการก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ของ M.B.A. จุฬาฯ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร ไวฉลาด และจงดี โตอิ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 165-177.
Knowles, A. S. (1997).The International Encyclopedia of Higher Education. 5th ed.. San Francisco: Hamilton
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1988). Communication and control process in delivery of service quality. Journal of Marketing, 52(2), 35–48.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว