การประเมินผลหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการวิจัยทางกฎหมาย
คำสำคัญ:
ประเมินผลหลักสูตร, ปัจจัยนำเข้า, กระบวนการเรียนการสอน, การบริหารหลักสูตร, การจัดการเรียนการสอน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อประเมินความจำเป็นของหลักสูตรการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการวิจัยทางกฎหมาย ตามทัศนะของนิสิตปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนของนิสิตที่เรียนหลักสูตร ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการวิจัยทางกฎหมาย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเชิงประเมินของนิสิตปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ จำนวน 27 ฉบับ (จำนวนที่ผู้เรียนส่งคืนมาจริง) ค่าสถิติที่ใช่ในการคำนวณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สหสัมพันธ์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) จากภาพรวมของทุกด้านของความพึงพอใจ ที่แสดงถึงความจำเป็นของหลักสูตรการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการวิจัยทางกฎหมาย ภาพรวมทุกด้านอันได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการเรียนการสอน และ ด้านผลลัพธ์หรือสัมฤทธิผลทางการเรียน อยู่ในระดับค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) มีตัวแปร 3 ตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต ได้แก่ ความสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย การค้นคว้าภาษาอังกฤษด้วยตนเองนอกชั้นเรียน และการมาเรียนสม่ำเสมอของนิสิต จากผลงานวิจัยครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า การค้นคว้าภาษาอังกฤษด้วยตนเองนอกชั้นเรียน เป็นตัวแปรที่สำคัญที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สุด
References
เนติ เฉลยวาเรศ. (2541). การประเมินอภิมานการใช้ CIPP Model เพื่อการประเมินโครงการทางการศึกษา(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พเยาว์ สุผล. (2540). การประเมินผลหลักสูตรนายสิบอาวุโสเหล่าแพทย์ พุทธศักราช 2535 ของกรมการแทพย์ทหารบก (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริรัฐ ทองใหญ่ ณ อยุธยา และคณะ. (2525). การวิจัยเชิงประเมินผลรายวิชากภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับนิสิตปีที่ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (รายงานการวิจัย). สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนิท วิศิษฐฏากุล.(2528).การประเมินผลหลักสูตรทหารอากาศไทย พุทธศักราช 2525 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2547). การประเมินผลความต่อเนื่องและความเหมาะสมหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษที่ใช้ในคณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (รายงานการวิจัย). สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์.(2529).การประเมินหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (รายงานการวิจัย). สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาวดี เครือโชติกุล. (2537). การประเมินผลหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ระดับปริญญาตรี พุทธศักราช 2531 ของ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา วงศ์โสธร และคณะ. (2523). การประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามความสามารถของแต่ะละบุคคลวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 (รายงานการวิจัย). สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี บรรจงศิริ. (2539). การประเมินผลหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิชาเอกพลศึกษา พุทธศักราช 2529 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2534) ของกรมพลศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร ชื่นวิญญา. (2545). การประเมินโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนโยธินบูรณะ กรมสามัญศึกษา (ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว