คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อัญรัช สาริกัลยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, เขตภาษีเจริญ

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมด 26,072 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 393 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2554). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562, จาก http://www.dmh.go.th/test/whoqol/

นิติวัฒน์ ไทพิทักษ์. (2556). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาหลักสูตรตรี-โท (สองภาษา) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปภัสสิริ ไชยวุฒิ. (2556). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน (การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรียาดา ยังอยู่. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลดอนยาง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร (รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ภูมิ โชคเหมาะ และคณะ. (2552). กฎหมายการส่งเสริมคณุภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

มาลี ปุยเสาธง. (2555). การสำรวจคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลบ้านไร่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดพิษณุโลก. (การศึกษาค้นคว้าอิสระคหกรรมศาตรมหาบัณฑิต). สาขาการพัฒนา ครอบครัวและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิไลพร ขำวงษ์ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 32-40.

สิริมา อิทธิ์ประเสริฐ. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแกลงกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวัฒน์ มหัตนิรนดร์กุล วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2559). เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. ผู้แปล. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.

สุวิทย์ งอกศรี. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hall.

Dalkey N., & Rourke, D. (1973). The Delphi procedure and rating quality of life factor in the quality of life concept. Washington, D. C.: Environment Protection Agency.

Lawton, J. (2000). The dying process: Patient’s experiences of palliative care. London: Routledge.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-23