การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4

ผู้แต่ง

  • ประทีป ไชยเมือง โรงเรียนพรตพิทยพยัต

คำสำคัญ:

ศักยภาพทางวิชาการ,, รูปแบบการบริหาร, บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน และ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน การวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้น และแบบเจาะจง และการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 298 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ แบบสอบถาม, แบบสัมภาษณ์,แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการประชาพิจารณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน มีความตรงและความเหมาะสมมาก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การส่งเสริมภาวะผู้นำ 2. กระบวนการจัดการความรู้ 3. การสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็งในการดำเนินงาน 4. การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน และ 5. เป้าหมายความสำเร็จ 2) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิจัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาจะได้รูปแบบหรือแนวทางในการบริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการนักเรียนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เกียรติศักดิ์ สุทธหลวง. (2560). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านวิชาการโรงเรียนดีประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 70-84.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2551). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนดีเด่นโรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานคัดกรองนักเรียนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 176-187.

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. (2553, 12 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 1-3.

พัชญ์วริญ พงษ์พัฒนปรีชา. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบางกะปิ สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชนี กาสุริย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(71), 23 – 29.

พิตะวัน เนตรทอง. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 217-234.

วันชัย หวังสวาสดิ์. (2560). รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 60-72.

วีระยุทธ์ ชาตะการญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2009. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สายฝน วิบูลย์รังสรรค์. (2550). การพัฒนารูปแบบการประเมินแบบมีส่วนร่วม สำหรับประเมินและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการดำเนินงานของคณะบุคคลและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อร่าม วัฒนะ. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 55-71.

อรุณศรี เงินเสือ. (2560). รูปแบบการบริหารงานวิจัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารสักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(1), 55-66.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York : Harper & Row.

Getzels, J.W. & Guba, E.G. (1957). Social behavior and administrative process. American Journal of Education, 65(4), 423–441.

Haidle, R. & Eiien, K. (1996). Student choose: Private Christian high school. South Dakota: University of South Dakota.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). Learning for the 21st Century: A Report and Mile Guide for 21st Century Skills. Retrieved August 10, 2020, from www.p21.org/index.php? option=com_ content&task=view&id=254&Itemid =120

Rideout, F.D. (1997). School – based Management for Small Schools in Newfoundland Labrador. Dissertation Abstract International, 57(8): 423–441.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-24