ระดับการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังเมือง อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การประยุกต์, การดำเนินชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังเมือง อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังเมือง อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 353 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพทำงานบริษัทและมีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามคะแนนเฉลี่ยได้ดังนี้ ลำดับแรก ด้านเงื่อนไขคุณธรรม รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีเหตุผล ด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และด้านความพอประมาณ ตามลำดับ
References
กรมการปกครอง. (2560). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านรายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล.
ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560, จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/ showProvinceData.php
กิตติพร ปทุมทอง. (2550). คุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) : กรณีศึกษาสาขาในสังกัดเขตการบริการและการขาย 1 (วิทยานิพนธบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ณัฐวุฒิ บำรุงแจ่ม. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มัลลิกา เหล็กกล้า. (2553). การปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา: ลูกจ้างประจำ กองการผลิตสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ กรมพลาธิการทหารบก (ปริญญานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รังสรรค์ มณีรัตน์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการยึดมั่นในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของกำลังพลกรมจเรทหารบก กรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2554). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560, จากhttps://www.nesdc. go.th/download/article/article_20160323112431.pdf
สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2560). การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว