แนวทางการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาในช่วงรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) (พ.ศ. 2557 - 2561)

ผู้แต่ง

  • บูชิตา ไวทยานนท์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การปฏิรูป, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กลุ่มผลประโยชน์, การกระจายอำนาจ

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยรัฐบาลคณะรักษา -ความสงบแห่งชาติ (คสช.) 2) บทบาทของกลุ่มผลักดันทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) แนวทางการนำการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปใช้พัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คณะทำงานที่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาและกำหนดแนวทางการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผลักดันทางการเมือง ตัวแทนฝ่ายบริหารท้องถิ่น การศึกษาวิจัยได้กระทำในช่วงปี 2557 - 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

                ผลการวิจัยพบว่า การปฏิรูปประเทศด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นในรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เป็นหน่วยงานหลักในการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นใน 5 ด้าน คือ (1) ด้านการกระจายอำนาจ (2) ด้านโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของการปกครองท้องถิ่น (3) ด้านการกำกับดูแล ตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น (4) ด้านการเงินการคลังท้องถิ่น และ (5) ด้านการบริหารงานบุคคลท้องถิ่น โดยมีบทบาทของกลุ่มผลักดันทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นการสร้างฐานทางการเมืองรวมถึงอำนาจการต่อรองทางการเมือง

References

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: พิฆเนศพริ้นติ้งเซนเตอร์.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2560). ทิศทางการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://cdc.parliament.go.th/ ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=42360&filename=house2558

วรเดช จันทรศร. (2540). การพัฒนาระบบราชการไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี.

วรเดช จันทรศร. (2543). การนำนโยบายไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ.

สถาบันพระปกเกล้า. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 3 เรื่อง เทศบาล. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2545). การปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 27(2), 342-361.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2558). การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญปี 2540 - 2550 และรัฐธรรมนูญ ปี 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

อุทัย หิรัญโต. (2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Bone, H. A., & Ranney, A. (1976). Politics and voters. New York: McGraw-Hill Companies.

Wootton, G. (1978). Interest Groups. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Zeigler, L. H. (1964). Interest groups in American society. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28