การบริหารจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
มลพิษ, สิ่งแวดล้อม, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้การวิจัย เชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและพนักงานเทศบาลผู้ปฏิบัติงานตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 148 ราย ในการศึกษาครั้งนี้จะทำให้เข้าใจถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนและนำไปสู่การแก้ไขรูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้ตรงกับความเป็นจริง ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าสถิติร้อยละ และค่าที t-test ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.01 โดยผู้บริหารเทศบาลตำบล มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 ส่วนพนักงานเทศบาลตำบล มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารและพนักงานเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีความแตกต่างกับพนักงานเทศบาลตำบล อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐาน แต่ผู้บริหารมีการบริการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายสูงกว่าพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จินตนา สุจจานันท์.(2554). การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชน = Lifelong education and community development. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปรียานุช คิมหะจันทร์. (2542). บทบาทของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดกาสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2536). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
วิภาเพ็ญ เจียสกุล. (2536). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ชั้นกลาง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา.(2560). สรุปผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา.(2561). แผนพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา (พ.ศ.2561-2565). นครราชสีมา: สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา.
สุนันท์ นิลบุตร. (2544). บทบาทของผู้บริหารกรุงเทพในการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุระ ปานเจริญศักดิ์. (2547). เวทีเสวนาเมืองโนนสูงจัดการขยะครบวงจรลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมแปลงขยะเป็นทุนลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืนเป็นแบบอย่างของเมืองโคราช. ม.ป.ท. อัดสำเนา.
สุรินทร์ จันทบูรณ์. (2542). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาเทศบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรวรรณ เย็นใจ. (2535). ความรู้และการปฏิบัติของประชาชนที่อาศัยบริเวณริมคลองกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลภายในครัวเรือนศึกษาเฉพาะกรณีคลองโอ่งอ่าง. (วิทยานิพนธ์สังคมศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุดม เชยกีวงศ์. (2557). มลพิษทางน้ำ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
Holt,J.M. (1993). Management : Principles and Practices. New lersey : Prentice Hall.
Jones,G.R. and George, J.M. (2014). Contemporary Management. Singapore: Me Graw Hill Education.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว