การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานส่วนท้องถิ่น องค์การบริหาร ส่วนตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างแรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานส่วนท้องถิ่น ด้านลักษณะงานที่ทำ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านการยอมรับนับถือ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกู่กาสิงห์ จำนวน 68 ราย ใช้วิธีการเลือกวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่พนักงานส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกู่กาสิงห์ เห็นว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกู่กาสิงห์ มากกว่าด้านอื่น ๆ คือ ปัจจัยด้านความสำเร็จในการทำงาน โดยเฉพาะการพัฒนาจุดเด่นของพนักงานในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ทำ โดยการกำหนดรายละเอียดของงานที่ชัดเจนและปริมาณงานที่เหมาะสม ส่วนปัจจัยด้านการยอมรับนับถืออยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยเฉพาะงานที่ทำอยู่มีเกียรติและได้รับการยอมรับในสังคม
References
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
วิภาพร มาพบสุข. (2543). มนุษย์สัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อดุลย์ ทองแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การ และแรงจูงใจการปฏิบัติงานของลูกจ้างชั่วคราวโรงพยาบาลจิตเวชภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สาธิตแก้วทิ้ง. (2560). แรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทยฝ่ายควบคุมจราจร (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธนบุรี.
ลดามณี แสงฝ้าย.(2557). แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรเทศบาลเมืองปทุมธานี (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ดารณี พานทอง พาลุสุข และสุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ. (2545). ทฤษฎีการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G., & Osborn, R. N. (2003). Organizational Behavior. (9thed.). New York: John Wiley & Sons, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว