ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร ต่อการจัดการปางช้าง ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นนทวิทย์ วินัยกุลพงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

นักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร, การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร, ปางช้าง, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

               งานวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร ต่อการจัดการปางช้างในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่” ครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Methods) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) กำหนดประชากรคือนักท่องเที่ยว   เชิงอาสาสมัครดูแลช้างของปางช้างในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 62 คน

              จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 40 คน และเป็นเพศชาย จำนวน 22 คน ส่วนใหญ่มีอายุ 18 - 35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ 5,001 - 10,000 USD ใช้ระยะเวลาต่อการฝึกฝนช้างไทย 1 - 4 สัปดาห์ นักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครมีวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เพื่อฝึกช้างไทย เพื่อเรียนรู้ว่าช้างสามารถฉลาดได้อย่างไร รองลงมา คือ เพื่อแสวงหาความรู้ในการฝึกช้าง และเพื่อประสบการณ์ ตามลำดับ 2) การวิเคราะห์หาค่าระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครต่อการจัดการปางช้างในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ลำดับแรก คือ ด้านที่พัก อาหาร ที่อยู่ รองลงมา คือ ด้านความไว้วางใจ ด้านการเรียนรู้ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ 3) จากการทดสอบสมมติฐานปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครต่อการจัดการปางช้างในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่พบว่าแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ รายได้ การศึกษา และอาชีพ

References

กรีนพีซ ไทยแลนด์.(2562). สังคมไทยกับช้าง. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2562, จาก https://www.green peace.org/archive-thailand/news/blog1/blog/17469/

นฤมล บำรุงวงศ์ไทย. (2551). ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรม ของนักทองเที่ยวตอการใช้บริการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของ Trekkingthai.com (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

รวิทัต บุณยเกียรติ. (2562). ที่ตั้งของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2562, จาก https://www.baan maha.com/community/threads/

ปรีดา คอโมแฮ. หัวหน้าควาญช้าง Thai Elephant Home. สัมภาษณ์ 2 พฤศจิกายน 2561.

พิกุลแก้ว สุขขำ. (2557). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการบริหารจัดการตลาดน้ำแบบดั้งเดิมและตลาดน้ำแบบจำลอง (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มติชน ออนไลน์.(2562). ฝรั่งชอบมากส่องปางช้างที่ “แม่ตะมานเชียงใหม่” วันนี้ไม่ได้มีแค่ “ช้างโชว์” นักท่องเที่ยวแห่พาช้างแช่โคลนคึกคัก. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562, จาก https://mgronline.com/local/ detail/9610000016579

มธุรา สวนศรี. (2559). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 11(1), 69-79.

รวิทัต บุณยเกียรติ. (2562). ปางช้าง เชียงใหม่ อีกมุมหนึ่งที่น่าไปสัมผัส. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2562, จาก https://travelblog.expedia.co.th/travel-experience/15151/

วิชัย เชื่อมวราศาสตร์. (2546). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรักษาความสะอาดของบริษัท พรอพเพอร์ตี้แคร์เซอร์ วิส (ประเทศไทย) จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เสถียร ใจคำ. สัมภาษณ์ 18 พฤศจิกายน 2561

DeFleur, M.L., Sandra, B.R.(1989). Theories of Mass Communication. (5thed.). London: Longman.

Grönroos, C. (1984). A service quality model and its marketing implications. European Journal of marketing, 18(4), 36-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-09