ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อประสิทธิภาพการให้บริการจ่ายเบี้ยยังชีพในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วิศิษฏ์ เตชาวัฒนากูล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, เบี้ยยังชีพ, การให้บริการ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และ 2) ศึกษาประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม จากผู้สูงอายุ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

               ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่าในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจมาก จำแนกรายด้านพบว่า ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด ด้านการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด และด้านการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด 2) ประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่าการให้บริการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับพึงพอใจมาก เนื่องจากการให้บริการแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่เป็นการให้บริการถึงที่บ้าน โดยเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุเพื่อสอบถามและประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการและการทำงานของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ มีความสนิทใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ

References

กมลชนก เบญจภุมริน. (2556). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการให้บริการการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2552). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: เจ เอส การพิมพ์.

จิราภรณ์ การะเกตุ. (2562). ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563, จาก https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles/ประเทศไทยกับสังคมผู้สู/

ทัศนีย์ สุวดิษฐ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ ศึกษากรณีเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:

บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พรทิพย์ เย็นจะบก และกมลรัฐ อินทรทัศน์. (2556). กระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563, จาก https://pirun.ku.ac.th/~agrpct/envelop/working%20 process1.doc/

วิไลพร ขำวงษ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2): 32-39

ศิริพร ตันติพูลวินัย. (2538). การพยาบาลยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: กองพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข.

สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563, จาก https://bongkotsakorn.wordpress.com/2013/06/06/เทคนิคการทำงานให้ประสบความสำเร็จ/

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ. (2558). การจัดระบบการดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในครอบครัว และชุมชน (รายงานวิจัย). สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Wolman, B. B. (1973). Dictionary of Behavioral Science. London: Litton Educational.

Maynard w. s. (1975). Responding to Social Chang. Pennsylvania: Dowden, Hutchison Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-28