ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการเลือกซื้ออาหารกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ความภักดี, อาหารกุ้ง, การตัดสินใจซื้อ, ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความภักดีในการเลือกซื้ออาหารกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคกับความภักดีในการเลือกซื้ออาหารกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความความภักดีในการเลือกซื้ออาหารกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา จ านวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ Independent-Sample t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้งที่แตกต่างกันมีความภักดีในการเลือกซื้ออาหารกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลาแตกต่างกัน 2) ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ด้านบุคคล ด้านสถานที่ซื้อ และด้านสื่อการรับรู้ที่แตกต่างกันมีความภักดีในการเลือกซื้ออาหารกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลาแตกต่างกัน 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่จัดจ าหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาดส่งผลต่อความภักดีในการเลือกซื้ออาหารกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา
References
กรรมการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ เครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย. (2563). เครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563 จาก https://www.prachachat.net/economy/news-575317
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2548). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). การบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
โชคชัย เหลืองธุรวปราณีต. (2548). การเพาะเลี้ยงสัตว์แบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมโฟร์เพซ.
ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสตาร์เวลล์ในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปรีชา วรารัตน์ไชย. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคและกลยุทธ์การตลาดบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านค้าประชารัฐ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 113.
วินิจ ตันสกุล. (2560). กุ้งและโรคกุ้ง. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563 จาก https://bigshrimp.blogspot.com
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552) การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สำนักงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา. (2563). ข้อมูลภาคการเกษตรของจังหวัดสงขลา ปี 2562. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563. จาก https://www.opsmoac.go.th/songkhla-dwl-files-421191791938
สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา. (2562). สถิติผลผลิตการเลี้ยงกุ้งทะเลประจำปี2561. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563. จาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200720141302_new.pdf
สุคนธ์ ประสิทธ์วัฒนเสรี. (2553) ลักษณะทั่วไปของประชากรศาสตร์. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. (12thed.).New York: Pearson International.
Schiffman, L.G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. (5thed.). Englewood Cliffs, NJ.: Prentice-Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (2nded). Tokyo: John Wetherhill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว