ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหาร, กลุ่มมิลเลนเนียล, โควิด 19บทคัดย่อ
ในปัจจุบันแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีศักยภาพทั้งความรู้ในการใช้เทคโนโลยีและมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตเป็นประจำเหมาะแก่การเป็นเป้าหมายหลัก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาดของแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อการใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล จำนวน 400 คน และทำการประมาณค่าแบบจำลองถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดด้านราคามีคะแนนความพึงพอใจน้อยที่สุด สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ในการใช้บริการ ได้แก่ ผลกระทบ COVID-19 เพศ รายได้ และความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด สำหรับปัจจัยที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมูลค่าอาหารที่สั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นมีเพียงผลกระทบ COVID-19 ดังนั้น เพื่อกระตุ้นความถี่ในการใช้บริการและมูลค่าอาหารที่สั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารให้เพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการควรอาศัยสถานการณ์โควิด 19 ในการเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ให้มากขึ้น รวมถึงเพื่อเพิ่มความถี่ในการใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารมากขึ้น ควรส่งเสริมทางการตลาดสำหรับเพศหญิงโดยเฉพาะ และเน้นสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยเฉพาะด้านราคา
References
กนกวรรณ นุชนารถ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(2), 44-53.
นัฐวรรณ มะลิโค และ สุวรรณ เนียมประชา. (2562). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(3), 1-15.
พัชพรกานต์ ศรีบุญเพ็ง และพอดี สุขพันธ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 59-69.
เพ็ญวิภา เพชร์จั่น และ กัญจนา มีศิลปวิกกัย. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจสั่งซื้ออาหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์แมนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(2), 183-190.
พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิริณฎา หลวงเทพ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรดี จงอัศญากุล. (2555). การจัดการองค์กรอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563a). ปี 2563 ธุรกิจร้านอาหารเผชิญกับโจทย์ท้าทายสูง และรูปแบบการแข่งขันที่เปลี่ยนไป คาดมีมูลค่า 4.37-4.41 แสนล้านบาท. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563., จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3067.aspx
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563b). หลังโควิด-19 ธุรกิจ Food Delivery ขยายตัวบนการแข่งขันที่ยิ่งรุนแรง … ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรุกไปสู่ Super Application. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3128-Food-Delivery.aspx
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563c). ผลของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ต่อธุรกิจการให้บริการแบบ On-Demand …คาดปี 2563 มูลค่ารวมสูงถึง 1.42 แสนล้านบาท. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2563, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3099.aspx,
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ร้านอาหารปี 64 รายได้...ธุรกิจหดตัว -5.6% ถึง -2.6%. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Restaurant-FB-10-05-21.aspx
Carlton, Dennis W. & Jeffrey M. P. (2005).Modern Industrial Organization. (4th ed.). Boston: Pearson Addison Wesley Longman, Inc.
Constantinides, E. (2004).Influencing the online consumer's behavior: The Web experience. Internet Research, 14(2), 111-126.
Engel, J. F., Blackwell, R. D. & Miniard P. W. (1995). Consumer behavior. (8th ed.). NJ: Prentice Hall.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. NJ: Prentice Hall.
Kotler, P., Wong, V., Saunders, J. & Armstrong, G. (2005). Principle of Marketing. (4th ed.). Essex: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว