การศึกษาทุนทางวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หย่อมบ้านวังไผ่ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วันโชค หุ่นผดุงรัตน์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

หย่อมบ้านวังไผ่, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาทุนทางวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หย่อมบ้านวังไผ่ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรม และ การมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการจัดการท่องเที่ยว หย่อมบ้านวังไผ่ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) ในการสุ่มตัวอย่างประชากร ผู้วิจัยใช้แนวทางการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling Method) โดยเลือกใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นเครื่องมือหลัก โดยการเลือกประชากรที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ของวัตถุประสงค์ของการวิจัย นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มประชากรแบบก้อนหิมะ เป็นเครื่องมือรอง (Snowball Sampling Technique) จำนวนของผู้ให้ข้อมูลพิจารณาจากการซ้ำของข้อมูลและความอิ่มตัวข้อมูลที่ได้รับ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เดี่ยวเชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างการสัมภาษณ์กลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า หย่อมบ้านวังไผ่ มีทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความสวยงามของธรรมชาติ และกิจกรรมท่องเที่ยวที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมที่จะรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นอกจากนี้ชาวบ้านมีความเต็มใจที่จะมีส่วนร่วม เห็นด้วย และพร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยวทุกคน อย่างไรก็ตามผลการวิจัยพบว่า แม้ชาวบ้านส่วนใหญ่ อยากมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว แต่ก็ยังขาดความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น อยากทำโฮมสเตย์แต่ก็ไม่มีความรู้ และสภาพที่พักไม่พร้อม เป็นต้น

References

การท่องเที่ยววิถีชุมชนเชียงใหม่. (2551). กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีไทลื้อบ้านวังไผ่. สืบค้นเมื่อ 8พฤศจิกายน 2562, จาก http://cbtchiangmai.org/detail.php?id=25

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2536). ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พลับลิชชิ่ง.

คัชพล จั่นเพชร และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชากแง้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 111-121.

โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2551). ไทยลื้อคือใคร. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562, จาก http://www.sri.cmu.ac.th/ethnictai/Lue_PDF/1.pdf

โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2551). การตั้งถิ่นฐานของไทยลื้อในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.sri.cmu.ac.th/ ethnictai/Lue_PDF/3.pdf

ดุลยภาค ปรีชารัชช. (2558). ความหลากหลายทางชาติพันธุ์กับการอยู่ร่วมกันเป็นประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562, จาก http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/39/58.pdf

ธีรภพ มูลอ้าย. (2557). ภูมิศาสตร์ไทยเชิงวิเคราะห์: ที่ตั้งของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/theeraphop2535/neuxha-bth-reiyn/thi-tang-khxng-prathesthiy

นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2556). อุตสาหกรรมการทองเที่ยว. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ประทีป จันทรสิงห์. (2549). การมีส่วนร่วมของบุคลากรเพื่อสนับสนุนการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. เวชสาร, 30(3), 246-253.

พัฒน์ บุณยรัตนพันธุ์. (2549). การสร้างพลังชุมชนโดยขบวนการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: บริษัทเลิฟแอนด์ลิพเพรส.

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบันในการส่วนร่วมของประชาชนในพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศักดิ์โสภณการพิมพ์.

ศภชัย ศรีโสภา. สัมภาษณ์ 2 พฤศจิกายน 2561.

สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2549). การบริหารท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). ชาติพันธุ์สัมพันธ์ : แนวคิดพื้นฐานทางมานุษยวิทยาในการศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ประชาชาติ และการจัดองค์กรความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2550). สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล. หนังสือพิมพ์ประชาไท:สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562, จาก https://prachatai.com/journal/2007/09/14124

อุทิศ ทำหอมม พิชิต วันดี, สำราญ ธุระตา. (2558). ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านตามา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(2), 46-59.

Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using thematic Research in Psychology. Qualitative Research in psychology, 3(2), 77-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-24