การบริหารจัดการด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยของสำนักงานขนส่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, มาตรการรักษาความปลอดภัย, สำนักงานขนส่งบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการของสำนักงานขนส่งจังหวังพระนครศรีอยุธยา 2) การจัดการด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยของสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 66 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยพบว่า ด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการรายงาน ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน ด้านการสั่งการหรืออำนวยการ ด้านการบริหารบุคคล และด้านการจัดองค์การ ตามลำดับ 2) การจัดการด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยของสำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ มาตรฐานการปฏิบัติเมื่อเกิดการละเมิดการรักษาความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ และมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในการประชุมลับ ตามลำดับ
References
กรมการขนส่งทางบก. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบก. กรุงเทพฯ: กรมการขนส่งทางบก.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). หลักการบริหารงานสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ใกล้รุ่ง ระเบียบโอษฐ์. (2558). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจรักษาความปลอดภัยตามแนวพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, สุจิรา ไชยกุสินธุ์ และวรัญญา แก้วเชือกหนัง. (2560). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินมาตรการทางด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับหน่วยงานภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
นงลักษณ์ แทนบุญ. (2560). ความพร้อมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำเทคโนโลยีในการพิสูจน์ตัวตนจากข้อมูลชีวมิติมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์). โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
พรชัย ขันตรี. (2553). ทฤษฎีและงานวิจัยทางอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.
รัตนศักดิ์ รู้ยืนยงค์และอํานวย คําตื้อ. (2557). การดําเนินงานรักษาความปลอดภัยของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(4), 383-388.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2555). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สัมพันธ์ ภู่ไพบูลย์. (2550). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.
สำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). แผนปฏิบัติราชการ. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2552). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อัปสร โพธิ์ทอง. (2554). การพัฒนาคุณภาพให้บริการท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อการส่งเสริม ท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.
Barnard, C. I. (1972). The Functions of the Executives. Boston: Harvard University.
Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1997). Management. (2nd ed.). New York: McGraw – Hill.
Bateman, T.S., & Snell, S. A. (1999). Management: Building Competitive Advantage. (4th ed.). Boston: Irwin McGraw-Hill.
Buchanan, D., Huczynski, A. (1997). Organizational behavior: and introductory text. London: FT Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว