การศึกษาระบบการบริหารการจัดการภาวะวิกฤตและรูปแบบการจัดการโรคอุบัติใหม่ (Covid-19) ในเขตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กัณฑ์ณวริษฐ์ สืบศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคมมหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ระบบการบริหารจัดการ, โรคอุบัติใหม่, ภาวะวิกฤต

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการจัดการการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ (Covid - 19) และ 2) ระบบการบริหารจัดการของโรคอุบัติใหม่ (Covid - 19) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ข้อมูลเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 คน

            ผลการวิจัย พบว่า

            1) การจัดการการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ (Covid - 19) ของจังหวัดปทุมธานี ยึดหลักนโยบายและคำสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีเป็นหลัก ซึ่งดำเนินการภายใต้มาตรการในทางกฎหมาย และมาตรการด้านสาธารณสุข เน้นการค้นหาผู้ติดเชื้อ การตรวจสอบ ควบคุม และดูแลสถานที่ประกาศปิดหรือสถานที่ที่ได้รับการผ่อนคลาย การตั้งจุดคัดกรองเพื่อจำกัดการนำเชื้อเข้าในพื้นที่ การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารความเสี่ยง และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และคำแนะนำประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับวิธีป้องกันโรคที่ถูกต้อง และการจัดตั้งทีมงานในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ประกอบไปด้วย หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานต่าง ๆ   

            2) ระบบการบริหารจัดการสถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่ (Covid - 19) ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีเกิดจากการดำเนินงานร่วมกับแบบบูรณาการในหลายภาคส่วน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่ แต่ทั้งหมดก็อยู่ภายใต้ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีการดำเนินการขับเคลื่อนตามนโยบายหรือคำสั่งการในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสถานการณ์ปัจจุบัน และมีการเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วนทั้งบุคลากร ความรู้ทางวิชาการ และการทำแผนรับมือภายในหน่วยงาน นอกจากนี้ยังมีมาตรการเยียวยาที่พร้อมรองรับ หรือสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

References

กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์ โควิด 19. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564, จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 25963. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINFOCENTER28/DRAWER068/GENERAL/DATA0000/00000518.PDF

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2563). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/laws/laws_08.pdf

ศูนย์บริหารจัดการสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) จังหวัดปทุมธานี. (2564). ประกาศ/คำสั่ง จังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564, จาก http://www.pathumthani.go.th/

new_web/covid/

ศิริพงศ์ รักใหม่ เยาวภรณ์ เลิศกุลทานนท์ กาญจนา แฮนนอน และกรกช มนตรีสุขศิริกุล. (2560). การจัดการภาวะวิกฤตในธุรกิจโรงแรม (Crisis Management in Hotel Business). วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 345-354.

อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2552). กลยุทธ์การบริหารภาวะวิกฤตสำหรับผู้นำองค์กร. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(122), 8-18.

อนุตรา รัตน์นราทร. (2563). รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19):ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยและนอกประเทศจีน. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 116-123.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-25