พฤติกรรมของผู้เข้าชมต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึก สโมสรการท่าเรือ เอฟ ซี

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ ฉายศิริพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ภาษณา สรเพ็ชรพิสัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมของผู้เข้าชม, การตัดสินใจซื้อ, ของที่ระลึก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการของผู้เข้าชมต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึกของสโมสรการท่าเรือ เอฟ ซี 2) ศึกษาการให้ความคิดเห็นของผู้เข้าชมที่มีต่อปัจจัยทางการตลาดจากการขายของที่ระลึกของสโมสรการท่าเรือ เอฟ ซี งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 335 คน สถิติที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Independent Sample (t-test), One way ANOVA (F-test) และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1).กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 62.7 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 23.9 โดยมีอายุระหว่าง 20 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 71.6 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 54.6 ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 49.3 และส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.5 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อาชีพ อายุ สถานภาพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมของผู้เข้าชมในการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึกจากร้านขายของที่ระลึกของสโมสรการท่าเรือ เอฟ ซี ไม่แตกต่างกัน และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้เข้าชมในการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึกจากร้านขายของที่ระลึกของสโมสรการท่าเรือ เอฟ ซี ในรายด้านระยะเวลาในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกจากร้านค้า, มูลค่าการซื้อสินค้าของที่ระลึกจำหน่ายราคา และความถี่ในการซื้อสินค้าของที่ระลึก 2) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 และด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านราคา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98, 3.71 และ 3.63 ตามลำดับ

References

คอตเลอร์ ฟิลลิป. (2546). การจัดการการตลาด. ธนวรรณ แสงสุวรรณ (และคณะเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่าจำกัด.

ฐานิตา สุรพงศานุรักษ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาซานริโอ (Sanrio) ของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ทัศนา หงษ์มา. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้ซื้อในตลาดนัด: กรณีศึกษา ตลาดนัดในกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. (รายงานการวิจัย). วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา. (2547). การตลาดสำหรับการบริการ: แนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นภัสสร อติชาตนันท์. (2555). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า iPad ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

สโมสรการท่าเรือ เอฟ ซี. (2559). จำนวนผู้เข้าชมและยอดขายของที่ระลึกของสโมสรการท่าเรือ เอฟ ซี. กรุงเทพฯ: สโมสรการท่าเรือ.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). กลยุทธ์การตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41 - 50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-07