การตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของประชาชนในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • หฤษฎ์ กุลแพทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วราพร ดำรงค์กูลสมบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเลือกซื้อ, ประกันชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตกับปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ T – test และ F - Test ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของประชาชนในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ 2) การตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของประชาชนในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพครอบครัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกมล ศาสติมงคลวิทย์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้บริโภควัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 4(2), 105-129.

ตติยา ตาแก้ว. (2556). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในอำภอเมือง เชียงใหม่ต่อกรมธรรม์ประกันชีวิตสะสมทรัพย์แกนเฟิสต์. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). Branding 4.0. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พัสวี ไข่มุกข์.(2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

มลฤดี วิริยานนท์. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

ลักขณาภรณ์ ชนะสงคราม. (2559). การตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชฏสวนสุนันทา, 9 (ฉบับพิเศษ), 61-69.

ศุภร เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์ บิซิเนสเพรส.

สมาคมประกันชีวิตไทย. (2553). ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตไทย. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2563, จาก: http://www.tlaa.org/www/th/home/index.php.

สำนักงานคณะกรรมการการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2560). สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2560, จาก http://www.oic.or.th

อรุโณทัย ยวงวิภักดิ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อประกันชีวิต : กรณีศึกษาลูกค้าธนาคารธนชาตในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์เศรษฐตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อิศราภรณ์ วีระคงสุวรรณ. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับรูปแบบการทำประกันชีวิตของผู้ถือกรมธรรม์ บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน). วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2), 226-238.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior. (5th ed). Englewood Cliffs, NJ.: Prentice-Hall.

Yamane T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice – Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-07